วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์


หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ 
หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ (Composition) คือ การนำเอาทัศนะธาตุ ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อนแก่ บริเวณว่าง สี และพื้นผิว มาจัดประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดความพอดี เหมาะสม ทำให้งานศิลปะชิ้นนั้นมีคุณค่าอย่างสูงสุด ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
  1. เอกภาพ (Unity) การรวมกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางจนทำให้ขาดความสัมพันธ์กัน ในทางทัศนศิลป์เอกภาพยังเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการแสดงอย่างชัดเจนด้วย
     
  2. ความสมดุล (Balance) 

    2.1 ความสมดุลของสิ่งที่ซ้ำหรือเหมือนกัน (Symmetrical) คือ เป็นการนำเอาส่วนประกอบที่มีรูปลักษณะเหมือนกัน มาจัดองค์ประกอบรวมเข้าด้วยกันให้ประสานกลมกลืน เกิดการถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ในลักษณะที่พอเหมาะพอดีจนรู้สึกว่ามีความสมดุล อาจด้วยการจัดวางตำแหน่งที่ตั้ง ช่องไฟ ระยะห่าง อัตราจำนวน ขนาดรูปร่าง น้ำหนักอ่อนแก่ ฯลฯ ที่เหมือนกันหรือเท่า ๆ กันจนเกิดเป็นเอกภาพเดียวกัน

    2.2 ความสมดุลของสิ่งที่ขัดแย้งหรือต่างกัน (Asymmetrical) เป็นการนำเอาส่วนประกอบที่มีรูปลักษณะที่ต่างกันหรือขัดแย้งกัน มาจัดองค์ประกอบเข้าด้วยกันให้ประสานกลมกลืนกัน เกิดการถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ในลักษณะที่พอเหมาะพอดีจนรู้สึกว่ามีความสมดุล โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
     
  3. จุดสนใจหรือการเน้น (Emphasis) ส่วนที่สำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาของภาพทั้งหมดหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีเพียงจุดเดียว ซึ่งอาจเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด นอกจากนั้นยังเน้นให้เกิดจุดสนใจด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ จุดสนใจไม่จำเป็นจะต้องอยู่จุดกึ่งกลางเสมอไป อาจอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้
     
  4. ความกลมกลืน (Harmony) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ ความกลมกลืนมี 2 แบบ คือ

    4.1 ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน หมายถึง การนำรูปร่าง รูปทรง เส้น หรือสี ที่มีลักษณะเดียวกันมาจัด เช่น วงกลมทั้งหมด สี่เหลี่ยมทั้งหมด ซึ่งแม้ว่าอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาจัดเป็นภาพขึ้นมาแล้วก็จะทำให้ความรู้สึกกลมกลืนกัน

    4.2 ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง หมายถึง การนำเอาองค์ประกอบต่างชนิด ต่างรูปร่าง รูปทรง ต่างสี มาจัดวางในภาพเดียวกัน เช่น รูปวงกลมกับรูปสามเหลี่ยม เส้นตรงกับเส้นโค้ง ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น แต่ก็ยังให้ความรู้สึกกลมกลืนกัน
     
  5. จังหวะ (Rhythm) ระยะในการจัดภาพหรือการวางของวัตถุ ซ้ำไปซ้ำมา อย่างสม่ำเสมอ เช่น ลายไทย การปูกระเบื้อง หรือการแปรอักษร เป็นต้น

ที่มา: http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/the_visual_aesthetics/08.html

พิกัดทางภูมิศาสตร์ของ ประเทศไทยตั้งอยู่ที่

  ทิศเหนือ  จดเส้นรุ้ง ๒๐ องศา ๒๕ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา เหนือ ที่กิ่งอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 
        ทิศใต้  จดเส้นรุ้ง ๕ องศา ๓๗ ลิบดา ที่กิ่งอำเภอเบตง จังหวัดยะลา 
        ทิศตะวันออก  จดเส้นแวง ๑๐๕ องศา ๓๗ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 
        ทิศตะวันตก  จดเส้นแวง ๙๗ องศา ๒๒ ลิบดา ตะวันออก ที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

http://th.wikipedia.org/wiki/พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ประกอบด้วยสองส่วน คือละติจูด และลองจิจูด 

ละติจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นศูนย์สูตร มีค่าสูงสุด 90 องศา 
           เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีละติจูดเท่ากันเราเรียกว่า เส้นขนาน (parallel) เวียนเป็นวงกลมรอบโลก 
           โดยขั้วโลกแต่ละขั้วจะมีค่าละติจูดเป็น 90 องศา เช่น ขั้วโลกเหนือมีละติจูด 90 องศาเหนือ เป็นต้น

ลองจิจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นเมอริเดียนที่ศูนย์ มีค่าสูงสุด 180 องศา ซึ่งพาดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิช 
             สหราชอาณาจักร เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีลองจิจูดเท่ากันจะเรียกว่า เส้นเมริเดียน (meridian)


ที่มา
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1d10f99015075fd8

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556


บทที่ 6 แผนที่ประเทศไทย
สุภาพ     บุญไชย.2550.ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย.[ออนไลน์]แหล่งข้อมูล : http://wbc.msu.ac.th/wbc/human/0107%20102/index.htm(วันที่ค้นข้อมูล : 30 พฤษภาคม 2550)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : จังหวัดมหาสารคาม

แผนที่จังหวัดของประเทศไทย ประเทศไทยมี 76 จังหวัด ดังต่อไปนี้
1. แม่ฮ่องสอน
2.
เชียงใหม่
3.
ลำพูน
4.
ลำปาง
5.
เชียงราย
6.
พะเยา
7.
น่าน
8.
แพร่
9.
อุตรดิตถ์
10.
ตาก
11.
กาญจนบุรี
12.
ราชบุรี
13.
เพชรบุรี
14.
ประจวบคีรีขันธ์
15.
หนองคาย
16.
นครพนม
17.
มุกดาหาร
18.
สกลนคร
19.
อุดรธานี
20.
หนองบัวลำภู
21.
เลย
22.
ขอนแก่น
23.
ชัยภูมิ
24.
มหาสารคาม
25.
กาฬสินธุ์
26.
ร้อยเอ็ด
27.
อุบลราชธานี
28.
อำนาจเจริญ
29.
ศรีสะเกษ
30.
สุรินทร์
31.
บุรีรัมย์
32.
ยโสธร
33.
นครราชสีมา
34.
ปราจีนบุรี
35.
สระแก้ว
36.
ฉะเชิงเทรา
37.
ชลบุรี
38.
ระยอง
39. จันทบุร
40.
ตราด
41.
ชุมพร
42.
ระนอง
43.
สุราษฎร์ธานี
44.
พังงา
45.
กระบี่
46.
นครศรีธรรมราช
47.
พัทลุง
48.
ตรัง
49.
ภูเก็ต
50.
สตูล
51.
สงขลา
52.
ปัตตานี
53.
ยะลา
54.
นราธิวาส
55.
สุโขทัย
56.
พิษณุโลก
57.
กำแพงเพชร
58.
พิจิตร
59.
เพชรบูรณ์
60.
นครสวรรค์
61.
อุทัยธานี
62.
ชัยนาท
63.
สิงห์บุรี
64.
ลพบุรี
65.
อ่างทอง
66.
สระบุรี
67.
สุพรรณบุรี
68.
พระนครศรีอยุธยา
69.
ปทุมธานี
70.
นนทบุรี
71.
กรุงเทพมหานคร
72.
นครนายก
73.
นครปฐม
74.
สมุทรปราการ
75.
สมุทรสาคร
76.
สมุทรสงคราม


 การแบ่งเขตโครงสร้างและภูมิภาคของประเทศไทย

ประเทศไทยแบ่งเขตโครงสร้างและภูมิภาคออกเป็น 6 เขต โดยอาศัยความคล้ายคลึง
ทางลักษณะภูมิประเทศเป็นเกณฑ์ นอกจากนั้นก็อาศัยด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูด และเขตการปกครอง ดังนี้
1.
ภาคกลาง ประกอบด้วย 22 จังหวัด ดังนี้ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สุพรรณบุรีพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครนายก นครปฐม สมุทรปราการสมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
2.
ภาคเหนือ ประกอบด้วย 9 จังหวัด ดังนี้ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์
3.
ภาคตะวันตก ประกอบด้วย 5 จังหวัด ดังนี้ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
4.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด ดังนี้ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา
5.
ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 7 จังหวัดดังนี้ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
6.
ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ดังนี้ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง ภูเก็ต สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
โครงสร้างที่ราบลุ่มน้ำภาคกลาง  แบ่งออกเป็น 3 เขตย่อย ดังนี้
1.
ภาคกลางตอนล่างหรือที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา       เริ่มตั้งแต่ใต้จังหวัดนครสวรรค์ลงมาจดอ่าวไทยมีจังหวัดที่อยู่ในเขตนี้ ดังนี้ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
2.
ภาคกลางตอนบนหรือที่ราบลุ่มน้ำตอนบน มีอาณาบริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ ขึ้นไปจดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย และบางบริเวณทางตอนใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์และเพชรบูรณ์
3.
บริเวณขอบที่ราบ ขอบทางด้านตะวันตก ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี และนครปฐม ส่วนขอบทางด้านตะวันออก ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี และนครนายก
โครงสร้างของภาคใต้   แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อยดังนี้
1.
ภาคใต้เขตชายฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
2.
ภาคใต้เขตชายฝั่งด้านตะวันตก ประกอบด้วย จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ภูเก็ต

แผนที่แสดงปริมาณฝนรวมเฉลี่ยประจำปี(มิลลิเมตร) ของประเทศไทย
ปริมาณฝนรวมเฉลี่ยประจำปีของประเทศไทย
        
ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปีเป็นรายภาค ดังนี้
        1.
ภาคเหนือ ฝนที่ตกเฉลี่ยประมาณ 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
        2.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝนที่ตกเฉลี่ยประมาณ 1,400 มิลลิเมตรต่อปี
        3.
ภาคกลาง ฝนที่ตกเฉลี่ยประมาณ 1,375 มิลลิเมตรต่อปี
        4.
ภาคตะวันออก ฝนที่ตก แบ่งกล่าวได้เป็น 3 บริเวณดังนี้
            4.1
บริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลตั้งแต่ระยองถึงชลบุรี มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,300 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
            4.2
บริเวณที่อยู่ภายในเข้าไปมีปริมาณฝนเฉลี่ย 1,500 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
            4.3
บริเวณชายฝั่งทะเลตั้งแต่จันทบุรีตลอดลงไปจนถึงจังหวัดตราดและอำเภอ
คลองใหญ่ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 3,000 – 4,000 มิลลิเมตรต่อปี
        5.
ภาคใต้ ฝนที่ตกแบ่งกล่าวได้เป็น 2 บริเวณดังนี้
            5.1
ฝนตกทางด้านตะวันตกของภาคใต้มากกว่าทางด้านตะวันออก
โดยเฉพาะที่จังหวัดระนอง มีฝนตกมากที่สุดในประเทศไทยเฉลี่ยประมาณ 5,106.3มิลลิเมตรต่อปี
            5.2
ฝนตกทางด้านตะวันออกของภาคใต้จะน้อยกว่าทางด้านตะวันตก ฝนที่ตกมากที่สุดทางด้านนี้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรถึงจังหวัดนราธิวาส มีปริมาณฝนตกเฉลี่ย 2,000 – 2,500 มิลลิเมตรต่อปี
ประเภทป่าไม้ในประเทศไทย
ป่าไม้ในประเทศไทย
          
ป่าประเภทไม่ผลัดใบ ประกอบด้วย
               1.
ป่าดงดิบ เกิดในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง มีปริมาณฝนสูงกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป มีทุกภาคของประเทศไทยแต่ที่พบเด่นที่สุดคือภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้เพราะมีฝนสูงกว่าภาคอื่น ๆ คือมีฝนเฉลี่ย
2,500
มิลลิเมตรขึ้นไป สำหรับภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคเหนือ จะพบป่าชนิดนี้อยู่ในเขตชุ่มชื้น เช่น ตามหุบเขา แม่น้ำ ลำธาร รวมทั้งในดินที่เก็บความชุ่มชื้นได้ดี เช่น ดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย เป็นต้น
               2.
ป่าดงดิบเขาหรือป่าดิบเขา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป
พบมากทางภาคเหนือ ในภาคกลาง พบที่ทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นต้น ป่าประเภทนี้มีฝนตกรายปีประมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
               3.
ป่าสนเขาหรือป่าสน พบกระจายเป็นหย่อม ๆ ในบริเวณที่เป็นเขาสูงอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 600 – 1,200 เมตร ปริมาณฝนตก 1,000 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อย ไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ ภาคกลางพบแถบทุ่งแสลงหลวงจังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์ ภาคเหนือพบที่ดอยบ่อหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่ภูกระดึง จังหวัดเลย จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี
4. ป่าเลนน้ำเค็มหรือป่าโกงกาง พบแถบชายฝั่งทะเล เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และพบเป็นแห่ง ๆทางชายฝั่งทะเล
ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ไปจดนราธิวาส

        
ป่าประเภทผลัดใบ ประกอบด้วย
               1.
ป่าเบญจพรรณ พบมากทางภาคเหนือ นอกจากนั้นยังพบในเขตภาคกลาง
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าชนิดนี้มีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไป
               2.
ป่าแพะ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง พบทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีป่าประเภทนี้อยู่ 70 – 80 เปอร์เซนต์ของป่าที่มีอยู่ในภาคนี้
การแบ่งเขตลมฟ้าอากาศในประเทศไทย
การแบ่งเขตลมฟ้าอากาศในประเทศไทย
        
ประเทศไทยแบ่งเขตลมฟ้าอากาศเป็น 6 เขตดังนี้
         1.
เขตลมฟ้าอากาศภาคเหนือ ประกอบด้วย 15 จังหวัดดังนี้ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก พิจิตร กำแพงเพชรเพชรบูรณ์ แพร่
         2.
เขตลมฟ้าอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัดดังนี้
เลย หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ดนครราชสีมามหาสารคาม ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี
         3.
เขตลมฟ้าอากาศภาคกลาง ประกอบด้วย 19 จังหวัดดังนี้ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา นครนายก ปทุมธานี กาญจนบุรี นนทบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาครสมุทรสงคราม ราชบุรี
         4.
เขตลมฟ้าอากาศภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 7 จังหวัดคือ ปราจีนบุรีสระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
         5.
เขตลมฟ้าอากาศภาคใต้ ประกอบ 16 จังหวัด แบ่งเป็น 2 บริเวณดังนี้
                 5.1
ฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย 10 จังหวัดดังนี้ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
                 5.2
ฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย 6 จังหวัดดังนี้ ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล
         6.
เขตลมฟ้าอากาศในอ่าวไทย ซึ่งมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้และลมตะเภาหรือลมประจำตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน นำฝนมาตกในภาคใต้และตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก

ภูเขาสำคัญในประเทศไทย

แผนที่แสดงภูเขาสำคัญในประเทศไทย ประเทศไทยมีภูเขาสำคัญ ดังต่อไปนี้
       1.
ภูเขาบรรทัด กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ตอนจังหวัดตราด
       2.
ภูเขาจันทบุรี เป็นทิวเขาที่ต่อเนื่องมาจากทิวเขาตะแบงใหญ่ในทิวเขาบรรทัดทอดยาวไปทางตะวันตก ผ่านอำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอขลุง อำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
       3.
ภูเขาสันกำแพง อยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ นครนายก และปราจีนบุรี
       4.
ภูเขาพนมดงรัก อยู่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
       5.
ภูเขาภูพาน อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร
       6.
ภูเขาดงพญาเย็น อยู่ในเขตจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา ลพบุรี และนครนายก
       7.
ภูเขาเพชรบูรณ์ มี 2 ทิวเขาเริ่มจากตอนเหนือแม่น้ำป่าสัก ที่ตำบลโพนสูงอำเภอด่านซ้าย
จังหวัดเลย แยกลงมาทางทิศใต้ตามลำแม่น้ำป่าสักทั้ง2 ฝั่ง
              -
ทิวที่ 1 อยู่ในเขตจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ขอนแก่น และชัยภูมิ
              -
ทิวที่ 2 อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์พิษณุโลก นครสวรรค์ และลพบุรี
       8.
ภูเขาผีปันน้ำ อยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน
       9.
ภูเขาหลวงพระบาง อยู่ในเขตจังหวัดน่านและอุตรดิตถ์
       10.
ภูเขาแดนลาว อยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
       11.
ภูเขาถนนธงชัย อยู่ในเขตจังหวัดตาก และกาญจนบุรี
       12.
ภูเขาตะนาวศรี อยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
และชุมพร
       13.
ภูเขาภูเก็ต อยู่ในเขตจังหวัดชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต
       14.
ภูเขานครศรีธรรมราช อยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสตูล
       15.
ภูเขาสันกาลาคีรี อยู่ในเขตจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส


การแบ่งเขตการปกครองของกระทรวงมหาดไทย


การแบ่งเขตการปกครองของกระทรวงมหาดไทย  ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 12 เขต คือ
          
เขต 1 ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ลพบุรี
และสิงห์บุรี
          
เขต 2 ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร สระบุรีนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
          
เขต 3 ได้แก่ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทราชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
          
เขต 4 ได้แก่ ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์กำแพงเพชร ตาก
          
เขต 5 ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิจิตร
          
เขต 6 ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูนลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และพะเยา
          
เขต 7 ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี เลยหนองคาย ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู มหาสารคาม
          
เขต 8 ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
          
เขต 9 ได้แก่ สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี
          
เขต 10 ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
          
เขต 11 ได้แก่ สงขลา สตูล พัทลุง ตรังปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
          
เขต 12 ได้แก่ กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ
รวม 12 เขต 76 จังหวัด และแต่ละเขตจะมีผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยควบคุม

การแบ่งเขตการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
การแบ่งเขตการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  แบ่งออกเป็น 13 เขต คือ
          
เขต 1 จังหวัดนครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ
          
เขต 2 จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล
          
เขต 3 จังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
          
เขต 4 จังหวัดภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา และระนอง
          
เขต 5 จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี
          
เขต 6 จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท อุทัยธานี
          
เขต 7 จังหวัดพิษณุโลก เพชรบุรี อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์
          
เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ และพะเยา
          
เขต 9 จังหวัดอุดรธานี เลยขอนแก่น หนองคาย สกลนคร หนองบัวลำภู
          
เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ  มหาสารคาม
          
เขต 11 จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
          
เขต 12 จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ตราด
          
เขต 13 จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศไทย

แผนที่ลุ่มน้ำสำคัญในแต่ละภาคของประเทศไทย

      1.
ลุ่มน้ำภาคกลาง ประกอบด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก
      2.
ลุ่มน้ำภาคเหนือ ประกอบด้วย แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำสาละวิน
แม่น้ำปาย แม่น้ำยวม แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำจัน แม่น้ำสาย
      3.
ลุ่มน้ำภาคตะวันตก ประกอบด้วยแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี
      4.
ลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย แม่น้ำบางประกง แม่น้ำจันทบุรี
      5.
ลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม
แม่น้ำเลย แม่น้ำโขง
      6.
ลุ่มน้ำภาคใต้ ประกอบด้วย แม่น้ำระนอง แม่น้ำชุมพร แม่น้ำตาปี แม่น้ำตรัง
แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสุไหงโกลก


ที่มา;