วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



วันที่ อาทิตย์ ธันวาคม 2551
พิมพ์หน้านี้  |  ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation

เนื้อหาการสอน ป.๖ วิชาพุทธศาสนา


พระพุทธ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ
            พระพุทธศาสนานั้น เราถือกันว่าเป็นศาสนาประจำชาติไทย  การ ถืออย่างนี้เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาโดยถูกต้องตามสมควรแก่เหตุ คือการที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
          ใน ทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทยเกี่ยวเนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมา ของพระพุทธศาสนา ดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องกันมา จนกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่ นับถือพระพุทธศาสนา
          ใน ด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยได้ผูกพันประสานกลมกลืนกับหลักความเชื่อ และหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาตลอดเวลาอันยาวนาน จนทำให้เกิดการปรับตัวเข้าหากันและสนองความต้องการของกันและกันตลอดจนผสม คลุกเคล้ากับความเชื่อถือและข้อปฏิบัติสายอื่น ๆ ถึงขั้นที่ทำให้เกิดมีระบบความเชื่อ และความประพฤติปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาที่เป็นแบบของไทยโดยเฉพาะ อันมีรูปลักษณะและและเนื้อหาของตนเองที่เน้นเด่นบางแง่บางด้านเป็นพิเศษ
          แยก ออกได้จากพระพุทธศาสนาอย่างมั่ว ๆ ไป ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธศาสนาถ้อยคำมากมายในภาษาไทยมีต้นกำเนิดมาจากภาษา บาลี และมีความหมายที่สืบเนื่อง ปรับแปรหรือเพี้ยนมาจากคติในพระพุทธศาสนา แบบแผนและครรลองตามหลักการของพระพุทธศาสนา ได้รับการยึดถือเป็นแนวทางและเป็นมาตรฐานสำหรับความประพฤติ การบำเพ็ญหน้าที่และการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทยทุกระดับ  ทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศ และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน 
          คนไทยทั่วทั้งหมดแต่องค์พระเจ้าแผ่นดินลงมา  จนถึงผู้ชายชาวบ้านแทบทุกคน  ได้บวชเรียนและรับการศึกษาจากสถาบันพระพุทธศาสนา  ดังมีประเพณีบวชเรียนเป็นหลักฐานสืบมา  วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของสังคมไทยเป็นแหล่งคำสั่งสอน  การฝึกอบรมและอำนวยความรู้ทั้งโดยตรงแก่ผู้เข้าบวชเรียนอยู่ในวัด  และโดยอ้อมแก่ทุกคนในชุมชนที่อยู่แวดล้อมวัด  ชุมชนทุกแห่งแม้แต่หมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกลต่างก็มีวัดตั้งอยู่เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชุมชน
          กิจกรรม ใหญ่ที่มีความสำคัญของรัฐก็ดี ของชุมชนก็ดี จะมีส่วนประกอบด้านพระพุทธศาสนาเป็นพิธีการ เพื่อเน้นความสำคัญและเสริมคุณค่าทางจิตใจ  แม้ แต่กิจกรรมเล็กน้อยจนถึงการประกอบกิจกรรมส่วนตัวของบุคคลในชีวิตประจำวัน เช่น ตื่นนอน ล้างหน้า ออกเดินทางไปทำงานจนถึงเข้านอน ก็อาจเคร่งครัดถึงกับนำคำสอนและข้อปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาเข้าไปแทรกเป็น ส่วนนำสำหรับเตือนสติ กระตุ้นเร้าในทางกุศลหรือเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังปรากฏต่อมาภายหลัง และบางทีเลือนรางเหลือเพียงเป็นการทำตาม ๆ กันมา เป็นเรื่องโชคลาง หรือสักแต่ว่าทำพอเป็นพิธี
          เหตุการณ์ ทั้งหลายในช่วงเวลาและวัยต่าง ๆของชีวิต เช่น การเกิด การแต่งงาน และการตาย ก็ทำให้มีความสำคัญและดีงามด้วยกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา กล่าวได้ว่า ชีวิตของคนไทยผูกพัน อิงอาศัยกับพระพุทธศาสนาตลอดจนเวลา ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย
          สภาพ ที่กล่าวมานี้ ได้เป็นมาช้านานจนฝังลึกลงในจิตใจและวิถีชีวิตของชาวไทย กลายเป็นเครื่องหล่อหลอมกลั่นกรองนิสัยใจคอของคนไทย ให้มีลักษณะเฉพาะตน ที่เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย และทำให้พูดด้วยความมั่นใจ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย
          อย่าง ไรก็ตาม เมื่อ 100 ปีเศษที่แล้วมานี้ ประเทศไทยได้ถูกคุกคามโดยลัทธิอาณานิคม เป็นเหตุให้ต้องมีความเปลี่ยนแปลงระบบแบบแผนต่าง ๆ ในการบริหารประเทศ ตามแบบอย่างประเทศตะวันตก เพื่อเร่งรัดปรับปรุงตัวให้เจริญทัดเทียมที่จะต้านทานป้องกันอำนาจครอบงำของ ประเทศที่กำลังเที่ยวล่าอาณานิคมอยู่ในเวลานั้น
          เริ่ม ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ไปจนถึงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในที่สุดพร้อมกันนั้นวัฒนธรรมแบบตะวันตกก็ หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นตามลำดับ ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่แปลกแยกห่างเหินจากวัฒนธรรม ไทยเดิมยิ่งขึ้นทุกที แม้ว่าเอกราชของประเทศชาติจะได้รับการดำรงรักษาให้รอดพ้นปลอดภัยมาได้ แต่เอกลักษณ์ของสังคมไทยก็ได้ถูกกระทบกระแทกจนสึกกร่อนและเลือนรางลงไปเป็น อันมาก
          เมื่อ เวลาผ่านจนถึงยุคปัจจุบัน ความแปลกแยกห่างเหินจากวัฒนธรรมของตน และความกร่อนเลือนไม่ชัดเจนของเอกลักษณ์ไทย ก็ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเกิดความมั่นใจหรือลังเลที่จะพูดว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการเมือง การปกครอง แม้ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญข้อที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ จะมีผู้ตีความว่าเป็นการบ่งบอกโดยนัยว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะกำหนดตัวตายให้พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่กันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นหลักประกันว่าองค์พระประมุขของชาติทรงเป็นศาสนิกแห่งศาสนาเดียวกัน กับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศพระองค์
          แต่ กระนั้นก็ยังมีคนไทยไม่น้อย แม้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบชะตากรรมของประเทศก็ยังขาดความมั่นใจ ต่างก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงคำพูดประโยคสั้น ๆ ที่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ หรือไม่ก็พูดออกมาอย่างอึกอักอ้อมแอ้ม
          ภาวะ ลังเล ขาดความมั่นใจ และไม่แน่วแน่แข็งที่เริ่มกลายเป็นความขัดแย้งกันนี้ ได้ครอบงำสังคมไทยอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนกระทั่งในที่สุดความยืนยันตัวเองก็ กลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อชาวไทยทั่วประเทศได้ฟังกระแสพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 9 ที่ตรัสต้อนรับพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ประมุขแห่งศาสนจักรคาทอลิก ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2527 มีความจำเพาะตอนนี้ว่า
          คนไทยเป็นศาสนิกที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ  หลัง จากได้ ความมั่นใจ ดุจเป็นพระราชวินิจฉัยจากพระราชดำรัสครั้งนี้แล้ว บุคคลวงการต่าง ๆ พากันมีความกล้าหาญที่จะพูด หรือเขียนให้ชัดแจ้งออกมาว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ




พุทธประวัติ
          พระพุทธเจ้า คือ บุคคลสำคัญของโลก เป็นผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา พระราชประวัติของพระองค์สรุปได้ดังนี้
          สถานะเดิม พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายาแห่งศากย วงศ์เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ตั้งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ ทรงมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ ทรงกำพร้าพระมารดาตั้งแต่ประสูติได้ 7 วัน
          พระองค์ ทรงสำเร็จการศึกษาในด้านศิลปวิทยาและวิชาการอื่น ๆ หลายอย่างหลายประเภทพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา หรือพิมพาเมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา มีพระโอรส 1 พระองค์ พระนามว่า ราหุล
          เสด็จออกบรรพชา พระองค์ทรงมีพระทัยในการแสวงหาทางสงบจิตใจมานานแล้ว จะเห็นได้ตอนพระองค์ทรงนั่งสมาธิในพิธีแรกนาขวัญ ณ ใต้ต้นหว้า ประกอบกับในเวลาต่อมาพระองค์ได้พบเทวทูต 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ และพระองค์ทรงเห็นว่า ความแก่ ความเจ็บ และความตาย เป็นภัยอันใหญ่หลวงของชีวิตสัตว์โลก
          ทรง เห็นว่าการเสด็จออกบรรพชาน่าจะเป็นทางออกที่ดีเพราะจะทำให้พบทางพ้นทุกข์จาก การแก่ การเจ็บ และการตาย ในขณะเดียวกับพระองค์ทรงทราบข่าวพระโอรสประสูติก็ทรงคิดเชื่อมโยงได้ว่า ความแก่ ความเจ็บ และความตายเป็นผลมาจากการเกิดนั่นเอง พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยออกบรรพชาเพราะทรงเห็นว่าเป็นทางที่ดีที่สุด
          ตรัสรู้ ในระหว่างเสด็จแสวงหาทางดับทุกข์อยู่นั้น พระองค์ทรงพบกับพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์หนุ่มแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ และพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงชวนให้พระองค์สึกและกลับมาครองราชย์สมบัติร่วมกัน โดยจะแบ่งราชสมบัติครึ่งหนึ่งให้ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ และตรัสบอกว่าพระองค์จะบำเพ็ญเพียรที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พระเจ้าพิมพสารจึงทูลอาราธนาให้เสด็จกลับมาโปรดหลังจากได้พบทางดับทุกข์คือ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
          ครั้น ลาพระเจ้าพิมพิสารแล้วพระองค์เสด็จมุ่งหน้าไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงเห็นสถานที่ที่เหมาะสมแล้วได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการทรมานตนเองให้ลำบากด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทรงอดข้าว ทรงกลั้นลมหายใจ และทรงกดเพดานด้วยลิ้น ทรงบำเพ็ญเพียรถึงกับเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
          ใน ที่สุดก็ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต คือ การเจริญสมาธิภาวนา และแล้วพระองค์ก็ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
            ปรินิพพาน เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนาอยู่เป็นเวลา 45 ปี มีผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสจำนวนมาก บางคนก็ออกบวชเป็นพระสาวก บางคนก็แสดงตนเป็นพุทธมามกะ พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ วโนทยาน เขตเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ รวมอายุได้ 80 พรรษา
          ปลงอายุสังขาร
          พรรษา ที่ 45 เป็นพรรษาสุดท้ายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการประกาศธรรม พรรษานี้ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่หมู่บ้านเวฬุคาม เขตไพศาลี เมืองหลวงของรัฐวัชชี ภายในพรรษา พระองค์ประชวรอย่างหนักจนเกือบเสด็จปรินิพพาน
          เนื่อง จากตลอดเวลา 44 ปีที่ผ่านมานั้น พระองค์มิได้ทรงนิ่งเฉย ทรงเสด็จดำเนินจาริกไปในรัฐต่าง ๆเพื่อทรงเผยแผ่พระศาสนา ซึ่งหนทางไปมาของแต่ละรัฐนั้นก็ล้วนแต่ทุรกันดาร จนเป็นเหตุให้พระวรกายของพระองค์บอบช้ำมาก อีกทั้งบัดนี้พระชนมายุของพระองค์ก็ย่างเข้าสู่ 80 ซึ่งนับได้ว่าได้ทรงชราภาพมากแล้ว แต่กระนั้น พระองค์ก็ยังทรงดำรงอยู่ได้ด้วยอธิวาสนขันติจนพระวรกายกลับเป็นปกติดังเดิม
          วัน หนึ่ง ขณะที่พระองค์ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ซึ่งปูลาดไว้ ณ ร่มเงาแห่งพระวิหาร พระอานนท์ซึ่งเป็นพุทธอุปัฏฐากได้เข้ามาเฝ้า ถวายนมัสการ แล้วกราบทูลว่า ข้า พระองค์ได้เห็นความผาสุกแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ความอดกลั้นทนทานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ก็ได้เห็นแล้ว คราเมื่อได้เห็นพระองค์ทรงพระประชวร ข้าพระองค์ก็พลอยรู้สึกปวดทรมานเช่นพระองค์ แม้ทิศาสนนุทิศทั้งหลายก็ดูมืดมนไป แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่สว่างแก่ดวงจิต เพราะมาวิตกถึงความที่พระองค์ประชวรนั้นแต่ก็ยังอุ่นใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า อย่างไรเสีย  เมื่อพระองค์ยังมิได้ทรงปรารภถึงภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสคำอันใดอันหนึ่งก็คงจะยังไม่เสด็จปรินิพพานเป็นแน่
          พระองค์ตรัสตอบว่า ดู ก่อนอานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังมาหวังอะไรในตถาคตอีกเล่า ธรรมที่ตถาคตแสดงแล้วทั้งปวงนั้น ตถาคตแสดงโดยเปิดเผย ไม่มีภายในภายนอก ไม่มีการปกปิดซ่อนเร้นเงื่อนงำที่สำคัญในธรรมใด ๆ เลย แม้ข้อซึ่งลี้ลับปกปิดซ่อนบังไว้โดยเพื่อจะแสดงแก่พระสาวกบางรูป บางเหล่า ไม่ทั่วไปก็ดีหรือจะเก็บไว้เพื่อแสดงต่ออวสานกาลที่สุดก็ดี ข้อนี้หามีแก่ตถาคตไม่ อานนท์ บัดนี้ตถาคตแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยเสียแล้ว อายุแห่งตถาคตถึง 80 แล้ว กายแห่งตถาคตย่อมเป็นประหนึ่งเกวียนเก่า คร่ำคร่า อาศัยไม้ไผ่ผูกกระหนาบคาบค้ำ อานนท์ เธอจงมีตนเป็นธรรมเป็นที่พึ่งทุกอิริยาบถเถิด
          พระ พุทธเจ้าประทับอยู่ที่หมู่บ้านเวฬุคามนั้น จนล่วงมาถึงวันเพ็ญเดือน 3 ในเวลาปัจฉาภัตถ์ของวันนี้พระองค์เสด็จไปประทับที่ปาวาลเจดีย์รัฐวัชชีเพื่อ ทรงสำราญ อยู่ กลางวัน โดยมีพระอานนท์ติดตามไปด้วย ณ ที่นี้  พระองค์ได้ทรงทำนิมิตโอภาส คือตรัสข้อความเป็นเชิงเปิดโอกาสให้พระอานนท์ทูลอาราธนาเพื่อดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป ว่า
           ดู ก่อนอานนท์ หากบุคคลผู้ซึ่งได้เจริญอิทธิบาททั้ง 4 ประการ ปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่ไปจนตลอดกัปหนึ่งหรือมากกว่าก็สามารถอยู่ได้ตามที่ ปรารถนาไว้ อานนท์ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาททั้ง 4 ประการแล้ว ดังนั้นหากตถาคตปรารถนาก็สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือมากกว่าได้ แต่พระอานนท์ก็ไม่ทราบว่าพระองค์ทรงหมายถึงอะไร เพราะในขณะนั้นท่านได้ถูกมารเข้ามาดลใจไว้ ดังนั้น ท่านจึงมิได้กราบทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป เพื่อประโยชน์สุขแก่เหล่าเทพยดาและมวลมนุษย์ทั้งหลายซึ่งแม้พระองค์จะทรงทำ นิมิตโอภาสเช่นนั้นซ้ำอีกตั้ง 2 ครั้งก็ตาม
          ครั้งนั้น พระองค์จึงตรัสกับท่านว่า อานนท์ เธอจงไปนั่งยังวิเวกสถานเจริญฌานสมาบัติโดยควรเถิด เมื่ออานนท์ออกไปแล้ว มารก็เข้ามาทูลให้พระองค์เสด็จปรินิพพาน พระองค์ทรงรับ และทรงกำหนดพระทัยจักปรินิพพานในอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเรียกว่า ทรงปลงอายุสังขาร
          ทัน ใดนั้น ก็บังเกิดความมหัศจรรย์บันดาลพื้นแผ่นพสุธาธานโลกธาตุกัมปนาทหวั่นไหว ประหนึ่งว่าแสดงความทุกข์ใจ อาลัยในพระพุทธเจ้าซึ่งจักเสด็จปรินิพพานในอีก 3 เดือนข้างหน้านี้
          พระอานนท์ได้เห็นดังนั้น จึงกลับเข้ามาเฝ้าพระองค์แล้วทูลถามถึงเหตุที่อัศจรรย์แผ่นดิน ไหวนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า อานนท์ เหตุ 8 ประการนี้แล แต่ละอย่างทำให้เกิดแผ่นดินไหว คือ
          1. ลมกำเริบ
          2. ผู้มีฤทธิ์บันดาล
          3. พระโพธิสัตว์จุติจากสัคคดุสิตลงสู่พระครรภ์
          4. พระโพธิสัตว์ประสูติ
          5. พระตถาคตเจ้าตรัสรู้
          6. พระตถาคตเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
          7. พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร
          8. พระตถาคตเจ้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
          เมื่อ พระอานนท์ได้ฟังดังนั้น ก็ทราบได้ทันทีว่าที่แผ่นดินไหวครั้งนี้นั้นก็เพราะพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุ สังขาร ท่านจึงกราบทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่สั่งสอนเวไนยนิกรต่อไป ตลอดกัปถึง 3 ครั้ง แต่พระองค์ก็ตรัสห้ามเสียเพราะในบัดนี้ไม่มีประโยชน์อะไรอีกแล้วที่จะมาทูล อาราธนาพระองค์ เหตุเพราะพระองค์ได้ตรัสคำขาดไว้แล้ว และจะทรงกลับคำเสียเพราะเหตุแห่งชีวิตย่อมเป็นไปไม่ได้เลย
          ครั้น แล้วได้ตรัสบอกพระอานนท์ว่าแม้ในวันก่อน ๆ พระองค์ก็ทรงได้ทำนิมิตโอภาสอย่างนี้แล้วเหมือนกัน แต่อานนท์ก็ไม่รู้เท่าทันพระองค์จึงมิได้ทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงดำรงพระ ชนม์อยู่ต่อไป ซึ่งนั่นก็เป็นความผิดของอานนท์แต่เพียงผู้เดียว
ปัจฉิมสาวก
          ปริพาชกชาวเมืองกุสินาราผู้หนึ่ง นามว่า สุภัททะ ได้ยินข่าวพระพุทธเจ้าปรินิพพานในยามสุดท้ายของราตรีวันนี้ที่ป่าไม้สาละ จึงรีบมาเฝ้าพระองค์ เพื่อกราบทูลถามปัญหาที่ตัวเองยังข้องใจสงสัยอยู่ ขณะที่เข้ามาถึงเวลาได้ล่วงเข้ามาเป็นมัชฌิมยามแล้ว และเมื่อจะเข้าเฝ้าก็ได้ถูกพระอานนท์ขัดขวางไว้ เพราะจะเป็นการรบกวนพระพุทธเจ้า ซึ่งในเวลานั้นทรงประชวรหนักมากแล้ว แต่สุภัททะก็พยายามที่จะเข้าไปให้ได้ พระอานนท์ก็ขัดขวางอยู่อย่างนั้น
          เสียง พูดโต้ตอบกันระหว่างสุภัททะกับพระอานนท์ได้ดังเข้าไปถึงพระแท่นที่บรรทมของ พระพุทธเจ้าซึ่งทรงประชวรหนัก แต่ก็ยังพอมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดังนั้นพระองค์จึงตรัสให้พระอานนท์อนุญาตให้สุภัททะเข้าเฝ้าตามประสงค์ พระอานนท์จึงกระทำตามพระดำรัสนั้น
          เมื่อ สุภัททะเข้าเฝ้าแล้ว พระองค์ทรงตอบปัญหาสุภัททะและทรงแสดงธรรมแก่สุภัททะจนเกิดความเลื่อมใส สุภัททะจึงประกาศตนเป็นอุบาสกถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แล้วทูลขออุปสมบท
          พระ พุทธเจ้าสั่งให้พระอานนท์พาสุภัททะเข้าไปบรรพชา พระอานนท์กระทำตามพระดำรัส แล้วก็พาสุภัททะเข้าไปหาพระพุทธเจ้าเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ  สุภัททะเมื่ออุปสมบทแล้ว ได้รีบเร่งบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์ เป็นปัจฉิมสาวก คือสาวกองค์สุดท้ายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สังเวชนียสถาน
          วันหนึ่ง พระอานนท์ได้กราบทูลว่า ในกาลก่อน เมื่อออกพรรษาแล้ว บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายในทิศตาง ๆก็พากันเดินทางเข้ามาเฝ้าพระองค์ เมื่อไม่เห็นพระองค์จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า อานนท์ สังเวชนียสถาน สถานที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช 4 ตำบลนี้ คือ
          1. สถานที่ตถาคตประสูติ (ลุมพินีวัน)
          2. สถานที่ตถาคตตรัสรู้ (อุรุเวลาเสนานิคม)
          3. สถานที่ตถาคตแสดงธรรมจักร (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน)
          4. สถานที่ตถาคตปรินิพพาน (สาลวโนทยาน)
          สถาน ที่ทั้ง 4 ตำบลนี้แล ควรที่พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาปสาทะในตถาคตจะดูจะเห็นและควรจะให้เกิดความสังเวชทั่วกัน อานนท์ อนึ่ง ชนเหล่าใดเที่ยวไปสังเวชนียสถานเหล่านี้ด้วยความเลื่อมใส ชนเหล่านั้น ครั้นกาลล่วงลับไป ก็จักเข้าถึงซึ่งสุคติโลกสวรรค์
ปรินิพพาน
          เมื่อ เวลาปรินพพานของพระองค์ใกล้เข้ามา พระอานนท์ได้หลีกออกมายืนเหนี่ยวกลอนประตูพระวิหาร (สลักเพชร) ร้องไห้รำพันด้วยความน้อยใจในวาสนาอาภัพของตนเอง ซึ่งแม้จะติดตามอยู่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเหมือนเงาตามตัว แล้วก็ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันต์เสียที กระทั่งบัดนี้ พระองค์จะเสด็จปรินิพพานแล้วก็ยังคงเหมือนเดิม และเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วตนเองจะอยู่กับใคร
          ขณะ นั้น พระพุทธเจ้าซึ่งทรงบรรทมอยู่ได้รับสั่งเรียกพระอานนท์มาเฝ้า ครั้นทรงทราบว่าทานเองไปยืนร้องไห้อยู่ที่ประตูพระวิหารจึงรับสั่งให้นำท่าน เข้ามา แล้วตรัสประทานโอวาทว่า อานนท์ อย่าเลย เธออย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย เราได้เคยบอกไว้แล้วมิใช่หรือว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงจะหาความเที่ยงแท้จากสังขารได้แต่ที่ไหน ทุกสิ่งที่เกิดมาแล้ว ล้วนต้องแปรปรวนและแตกดับทำลายสลายสิ้น เช่นเดียวกันทั้งนั้น อานนท์เธอเป็นคนมีบุญอันได้สั่งสมไว้แล้ว เธอจงหมั่นปฏิบัติบำเพ็ญเพียรเถิด ไม่ช้าแล้วเธอก็จักถึงซึ่งความดับสิ้นไปแห่งอาสวะแล้วได้ตรัสสรรเสริญพระอานนท์ว่าเป็นยอดพุทธอุปัฏฐาก เป็นพหูสูต มีสติรอบคอบมีฐิติคือความเพียรและมีปัญญารู้จักกาลเทศะ
พระอานนท์กราบทูลให้เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองอื่น
          ลำดับ นั้น พระอานนท์จึงทูลให้พระองค์เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองอื่นอย่างเช่นเมืองราช คฤห์ เพราะเป็นเมืองใหญ่ทั้งยังดูสมเกียรติอีกด้วยไม่ควรเสด็จปรินิพพานในเมือง เล็ก ๆ อย่างกุสินารานี้ พระองค์ทรงห้ามเสียแล้วตรัสว่า อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ในอดีต เมืองกุสินารานี้ จอมจักพรรดิราชผู้ทรงพระนามว่ามหาสุทัศน์เป็นพระมหากษัตริย์ปกครอง มีชื่อว่า กุสาวดีราชธานี เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากประชาชนสงบสุข สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สรรพสิ่งเครื่องอุปกรณ์แก่ชีวิตของมนุษย์ทุกประการ เสียงผู้คนร้องเรียกค้าขายสัญจรไปมากันทั้งกลางวันและกลางคืน
          ครั้นพระองค์ ทรงแสดงว่ากุสินาราเป็นเมืองใหญ่เช่นนั้นแล้ว จึงมีพุทธบัญชาให้พระอานนท์ไปแจ้งข่าวปรินิพพานของพระองค์แก่พวกมัล ลกษัตริย์ว่าจะมีในยามสุดแห่งราตรีวันนี้ เพื่อมิให้พวกเขาเดือดร้อนเสียใจ ในภายหลังว่า ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานในอาณาเขตของพวกเรา แต่ทว่ากลับมิได้รู้มิได้เห็นพระองค์ในวาระสุดท้าย พระอานนท์ก็กระทำตามพุทธบัญชา
          ครั้น มัลลกษัตริย์ทั้งทรงทราบข่าวแล้ว ก็โศกเศร้ารำพึงรำพันกันไปต่าง ๆ แล้วพร้อมกันมาเฝ้าพระองค์ที่สาลวโนทยาน พระอานนท์ก็จัดให้เข้าเฝ้าเป็นสกุล เป็นคณะไปตามลำดับ เสร็จภายในปฐมยามเบื้องต้นแห่งราตรีนั้น        นี่ เป็นข้อหนึ่งซึ่งแสดงถึงความฉลาดรู้จักกาลเทศะของพระอานนท์สมกับที่พระ พุทธเจ้าได้ตรัสสรรเสริญเอาไว้ เพราะมัลลกษัตริย์มีมากองค์ด้วยกันหากจัดให้เรียงองค์เข้าเฝ้ากันแล้วราตรี จะสว่างเปล่าทั้งไม่เสร็จสิ้น
วิธีปฏิบัติในพระพุทธสรีระ
          ลำดับนั้น พระอานนท์จึงทูลถามต่อไปว่าจะพึงปฏิบัติอย่างไรในพระพุทธสรีระพระองค์ตรัสว่า อานนท์ เธอทั้งหลายอย่าขวนขวายเลย จงตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรมุ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์เถิด บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คหบดีทั้งหลายที่เลื่อมใสในตถาคตมีอยู่ จึงปฏิบัติในสรีระแห่งตถาคตจักเป็นหน้าที่ของพวกเขา แต่ด้วยความเป็นผู้รอบคอบอานนท์จึงทูลถามอีกว่า
          ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็กษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น จะพึงปฏิบัติในพระพุทธสรีระโดยวิธีเช่นใด
          อานนท์ ชนทั้งหลายย่อมปฏิบัติในพระสรีระแห่งพระเจ้าจักรพรรดิเช่นใด แม้ในสรีระแห่งตถาคตก็เช่นนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ชนทั้งหลายย่อมปฏิบัติกันอย่างไรในพระสรีระแห่งจักรพรรดิราช อานนท์ ชนทั้งหลายห่อซึ่งสรีระแห่งพระเจ้าจักรพรรดิราชด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่โดยอุบายนี้ ห่อด้วยผ้า 500 คู่ แล้วเชิญพระสรีระลงหีบทองซึ่งใส่น้ำมันหอม ถวายพระเพลิงแล้วอัญเชิญพระอัฐิธาตุไปทำพระสถูปบรรจุไว้ ณ ที่ประชุมแห่งถนนใหญ่ทั้ง 4 เพื่อนำไปสักการะกราบไหว้บูชาและเป็นอนุสรณ์เตือนใจของผู้คนที่สัญจรไปมา ทั่วไป
          จากนั้น พระองค์ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใดที่เราบัญญัติไว้แล้ว ธรรมวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย โดยกาลเป็นที่สิ้นไปแห่งเรา และตรัสว่า ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ถอนได้ และรับสั่งให้ลงพรหมทัณฑ์(อาชญาของพรหม) แก่พระฉันทะแล้วทรงตรัสสอนภิกษุสงฆ์ด้วยธรรมอันเป็นปัจฉิมโอวาทว่ อุปปมาเทน สมฺปาเทถ แปลความว่า ท่านทั้งหลายจงให้ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด 
          ต่อจากนั้นก็มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงเข้าฌานที่ 1 ถึง 8 แล้วเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ในตอนนี้พระอานนท์ถามพระอนุรุทธะว่า พระบรมศาสดาปรินิพพานแล้วหรือพระ อนุรุทธะตอบว่ายังก่อน กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พระศาสดาทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว เข้าฌานที่ 8 ย้อนมาหาฌานที่ 1 แล้วเข้าฌานที่ 2-3-4 ออกจากฌานที่ 4 แล้วปรินิพพาน ในเวลาอันใกล้รุ่งของวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะ เดือน6
          เมื่อ ปรินิพพานแล้ว เวลายังไม่สว่าง พระอนุรุทธะกับพระอานนท์เถระไปแจ้งข่าวปรินิพพานแก่พวกมัลลกษัตริย์ทราบ ก็ทรงกำสรดดสกาอาดูรต่าง ๆนานา ทรงประกาศให้ประชาชนทราบไปทั่วพระนคร แล้วนำดอกไม้ของหอม ดนตรีผ้าขาว 500 พับ เสด็จไปยังสาลวโนทยานทำการนมัสการบูชาพระพุทธสรีระอย่างมโหฬาร ตลอดทั้ง 6 วัน 6 คืน
ถวายพระเพลิง
          ครั้น รุ่งขึ้นวันที่ 7 มัลลกษัตริย์ ได้อัญเชิญพระพุทธสรีระเข้าไปยังพระนครโดยประตูด้านทิศอุดรแห่งให้ประชาชน ถวายสักการะบูชาทั่วพระนครแล้ว อัญเชิญออกจากพระนครทางประตูด้านทิศบูรพาไปประดิษฐานที่มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ทำราชาภิเษก ซึ่งอยู่ ณ ทิศบูรพาแห่งพระนครกุสินารา เพื่อจะถวายพระเพลิง
          พวก มัลลกษัตริย์ตรัสถามท่านพระอานนท์เถระว่า จะปฏิบัติเช่นไรต่อพระพุทธสรีระ พระเถระบอกให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิ พวกมัลลกษัตริย์ทรงปฏิบัติตามพุทธประสงค์ โดยใช้คู่ผ้าขาวใหม่ห่อพระสรีระแล้วซับด้วยสำลีแล้วห่อด้วยผ้าขาวใหม่แล้ว ซับด้วยสำลี โดย นัยนี้จนครบ 500 ชั้น แล้วอัญเชิญลงในหีบเหล็กที่มีน้ำมันเติมปิดฝาประดิษฐานบนจิตกาธาน เชิงตะกอนที่ทำด้วยไม้หอมล้วน ๆ แล้วมัลลาปาโมกข์ 4 องค์นำเพลิงเข้าไปจุดเชิงตะกอนทั้ง 4 ทิศ ก็ไม่สามารถจะจุดเพลิงให้ติดได้ มีพระหฤทัยสงสัยจึงตรัสถามท่านพระอนุรุทธะเถระเจ้า พระเถระจึงบอกให้คอยท่านพระมหากัสสปะก่อน
          ขณะ นั้นท่านมหากัสสปะเถระกำลังเดินทางมาจากปาวานคร ยังมิทันถึงมกุฏพันธเจดีย์ พร้อมด้วยภิกษุประมาณ 500 องค์ แวะพักข้างทางที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง ได้เห็นอาชีวกผู้หนึ่งถือดอกมณฑลมาจึงได้เข้าไปถามถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า อาชีวกตอบว่าพระสมณโคดมปรินิพพานได้ 7 วัน พวกภิกษุที่เป็นปุถุชนบางพวกก็ยกมือขึ้นทั้ง 2 ประคอง แล้วร้องไห้ ปริเทวนาการระพันเกลือกกลิ้งไปมา ส่วนภิกษุที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ มีสติสัมปชัญญะอดกลั้นโดยธรรมสังเวช
          ใน ที่นั่นมีหลวงตารูปหนึ่งบวชเมื่อแก่ ชื่อ สุภัททะ ได้ติดตามพระเถระและภิกษุทั้งหลายมาด้วยได้ร้องห้ามขึ้นว่า หยุดร้องไห้เถิดท่านทั้งหลาย อย่าได้เศร้าโศกเสียใจไปเลย เราทั้งหลายจำเป็นต้องทำตามจึงลำบากนัก บัดนี้เราจะทำสิ่งใดหรือไม่ทำสิ่งใดก็ตาม ตามความพอใจโดยมิต้องเกรงผู้ใด ท่านมหากัสสปะเถระได้สดับแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ
          ครั้น จะยกขึ้นเป็นอธิกรณ์ทำนิคหกรรมเล่าก็เห็นว่ายังไม่สมควร จึงปลอบโยนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แล้วจึงนำภิกษุทั้งหลายไปสู่มกุฏพันธเจดีย์ เข้าไปใกล้เชิงตะกอนประนมอัญชลีขึ้นนมัสการกระทำประทักษิณสิ้น 3 รอบ แล้วถวายบังคมพระบาทยุคลทั้งคู่ด้วยเศียรเกล้า เมื่อพระมหากัสสปะเถระและภิกษุ 500 องค์ ถวายบังคมแล้ว เตโชธาตุก็ได้โพลงขึ้นเองลุกโชติช่วงเผาพระพุทธสรีระพร้อมทั้งจิตกาธาน
          ส่วน ที่เหลือจากพระเพลิงเผาไหม้คือ พระอัฐิ(กระดูก) พระเกศา (ผม) พระโลมา(ขน) พระนขา (เล็บ) พระทันต์ (ฟัน) ทั้งหมด และผ้าคู่ห่อพระสรีระคู่หนึ่งเป็นเครื่องห่อพระบรมสารีริกธาตุเหลืออยู่ มิได้ไหม้นอกนั้นเพลิงเผาพินาศหมดสิ้น
          เมื่อ เสร็จจากการถวายพระเพลิง มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย นำสุคนธวารี คือน้ำหอมชนิดต่าง ๆ ดับจิตกาธารอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ ณ สัณฐาคารศาลาภายในพระนคร ตั้งเหล่าทหารรักษารายล้อมภายในพระนครอย่างแข็งแรงมั่นคง ทำสักการบูชา และมีมหรสพฉลองพระบรมสารีริกธาตุอย่างมโหฬารตลอด 7 วัน 7 คืน
แจกพระบรมสารีริกธาตุ
บรรดากษัตริย์และผู้ครองนครทั้งหลาย 7 นคร คือ
          1. พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
          2. กษัตริย์ลิจฉวี แห่งเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
          3. ศากยกษัตริย์ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกชนบท
          4. ถูกษัตริย์ แห่งเมืองอัลลกัปปนคร
          5. โกลิยกษัตริย์ แห่งเมืองรามคาม แค้วนสักกชนบท
          6. มัลลกษัตริย์ แห่งเมืองปาวานคร แคว้นมัลละ
          7. มหาพราหมณ์ แห่งเมืองเวฏฐทีปกนคร
          ได้ ทราบกิตติศัพท์ จึงได้ส่งทูตเชิญราชสาส์นพร้อมทั้งกองทัพมายังมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา เพื่อทูลขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นที่ สักการบูชา ณ เมืองแห่งตน มัลลกษัตริย์ไม่ยอมให้จึงเกือบจะเกิดสงครามกันขึ้น
          ฝ่าย โทณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ มีปัญญาสามารถชาญฉลาด มีถ้อยคำเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไปสามารถจะห้ามการวิวาทให้สงบลงได้โดยธรรม เมื่อได้ฟังการปฏิเสธของมัลลกษัตริย์แล้วคิดว่า สงครามและการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นเพราะการแย่งพระบรมสารีริกธาตุนั้นไม่เป็น การสมควรเลย ควรจะแบ่งให้เท่า ๆ กัน เพื่อจะได้นำไปสักการบูชายังเมืองของตน คิดดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวขึ้นว่า
           ขอ พระมหาราชเจ้าทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้าสมเด็จพระพุทธองค์ทรงเป็นสรณะที่พึ่งแห่งเราทั้งหลาย พระองค์เป็นขันติวาท กล่าวสรรเสริญความอดทนอดกลั้นต่อทุกข์และกำลังแห่งกิเลสการจะถือเอาพระบรม สารีริกธาตุเป็นเหตุแล้วทำการประหัตประหารต่อสู้กันด้วยศัสตราวุธ จนเป็นสงครามขึ้นมา ไม่ดีไม่งามเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอบรรดาเจ้านครทั้งหลายจงพร้อมใจกันแบ่งพระบรม สารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กันพระนครเถิด ขอพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจงแพร่หลายไปทั่วทุกทิศ จักให้สำเร็จประโยชน์ความสุขแก่นิรสัตว์สิ้นกาลนาน
          กษัตริย์ ทั้งหลาย เมื่อได้สดับก็ทรงเห็นชอบ และได้ให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่ง โทณพราหมณ์นั้นใช้ตุ่มพระทะนานทอง ตวงพระบรมสารีริกธาตุแบ่งออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน ถวายกษัตริย์และพราหมณ์ทั้ง 8 พระนครเสร็จแล้วทูลขอตุ่มที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุอันควรแก่การบรรจุไว้ ณ เจดียสถานไปก่อสถูปบรรจุไว้
          ภาย หลังโมริกษัตริย์ แห่งเมืองปิปผลิวัน ได้ทราบข่าวจึงได้ส่งทูตมาทูลขอ มัลลกษัตริย์ได้ตรัสว่าส่วนพระสรีระไม่มีเราได้แบ่งกันเป็นส่วน ๆ หมดไปแล้ว ท่านจงเชิญพระอังคารไปบรรจุพระสถูปทำการสักการบูชาเถิด ราชทูตจึงได้นำพระอังคารกลับไปบรรจุไว้ในพระสถูปเมืองปิปผลิวัน

ชาดก
ทีฆีติโกสลชาดก ทีฆาวุกุมารผู้เชื่อบิดา
          ในอดีตกาล  พระ เจ้าพรหมทัตไปชิงเอาราชสมบัติของพระเจ้าทีฆีติโกสลในกรุงสาวัตถีได้ พระเจ้าทีฆีติโกสลได้พาพระอัครมเหสีผู้กำลังมีครรภ์หลบหนีไปซ่อนอยู่ในที่ อื่นเสียจนพระมเหสีประสูติพระโอรสออกมามีพระนามว่าทีฆาวุกุมาร แล้วทรงสั่งสอนพระโอรสอยู่กระทั่งทรงพระเจริญวัย จึงให้ไปศึกษาศิลปะวิชาต่าง ๆ อยู่ในสำนักอาจารย์แห่งหนึ่ง
          แต่ เมื่อพระโอรสทรงพระเจริญวัยเป็นหนุ่มขึ้น พระบิดาจึงถูกพระเจ้าพรหมทัตตามจับมาได้ แล้วพระเจ้าพรหมทัตตรัสสั่งให้พวกเพชฌฆาตคุมไปสู่ตะแลงแกงตามถนนหลวง ในเวลานั้นทีฆาวุกุมารได้ปะปนผู้คนไปดูพอพระเจ้าทีติได้ทอดพระเนตรเห็นก็ ตรัสขึ้นว่าลูกเอ๋ยเจ้าอย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว อย่าผูกเวร เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ตรัสเท่านี้แล้วก็เลยไป พวกเพชฌฆาตก็นำไปสำเร็จโทษเสีย
          ต่อ มาภายหลังทีฆาวุกุมาร จึงได้หาพระอุบายไปอยู่กับนายควาญช้างของพระเจ้าพรหมทัตจวนสว่างก็ได้ดีดพิณ ทุกคืน คืนวันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตได้ทรงสดับเสียงพิณก็ชอบพระทัย เช้าขึ้นได้โปรดให้หานายควาญช้างเข้าเฝ้า ตรัสถามว่าใครดีดพิณ นายควาญช้างกราบทูลว่าบุตรของข้าพระองค์ จึงโปรดให้พวกตัวเข้าเฝ้า เมื่อทอดพระเนตรเห็นก็ตรัสถามว่า กุมารนี้รูปร่างผิวพรรณแปลกจากตัวเจ้านัก จะว่าเป็นลูกเจ้าอย่างไร
          นาย ควาญช้างกราบทูลว่า เขาเหมือนข้างแม่ของเขาซึ่งตายไปนานแล้ว จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงให้อยู่กับเรา นายควาญช้างก็ทูลถวาย เมื่อทีฆาวุกุมารได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กก็ตั้งใจถวายการรับใช้จนเป็นที่พอ พระทัยของพระเจ้าพรหมทัตอย่างยิ่ง
          อยู่ มาวันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตให้ทีฆาวุกุมารเป็นนายสารถีขับรถพระที่นั่งออกไป ล่าเนื้อในป่า ทีฆาวุกุมารได้โอกาสก็รีบขับรถพระที่นั่งหนีจากพวกโยธาอย่างรวดเร็ว จนไปถึงป่าใหญ่แห่งหนึ่งจึงหยุดพัก พระเจ้าพรหมทัตตรัสว่าเราเหนื่อยนัก จึงเสด็จลงจากรถให้ทีฆาวุกุมารนั่งขัดสมาธิลง แล้วทรงพาดพระเศียรบรรทมหลับไป
          พอ พระเจ้าพรหมทัตหลับไป ทีฆาวุกุมารก็นึกว่า คราวนี้เราได้แก้แค้นแทนพระชนกชนนีแล้ว จึงชักพระขรรค์ออกมาเพื่อจะตัดพระศอพระเจ้าพรหมทัต แต่นึกถึงคำสอนพระบิดาได้ จึงสวมพระขรรค์เข้าฝัก แล้วทรงนึกขึ้นมาอีกเป็นครั้งสองที่สาม ได้ชักพระขรรค์ออกมาอีก แต่นึกถึงพระโอวาทของพระบิดา จึงสวมพระขรรค์เข้าไว้ ขณะนั้นพระเจ้าพรหมทัตตกพระทัยกลัวได้ตรัสขอชีวิตไว้ ขอทำสัตย์สาบานว่าจะยกราชสมบัติกับพระราชธิดาให้ทีฆาวุกุมารก็ยอมแล้วก็กลับ เมือง ได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของพระเจ้าพรหมทัต ต่อมาได้เป็นพระมหากษัตริย์แทนพระเจ้าพรหมทัต ครองสมบัติทั้งสองประเทศ
          คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้คือ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

สัพพทาฐิชาดก  สุนัขจิ้งจอกผู้ใฝ่สูงเกินตัว
          ใน อดีตกาล มีปุโรหิตคนหนึ่งไปร่ายมนต์ปฐมวิชัยอยู่บนแผ่นดินกลางป่าแห่งหนึ่ง มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งนอนอยู่ในโพรงไม้ใกล้แผ่นหินนั้นได้จดจำมนต์ไว้ และได้หนีเข้าป่าไป แล้วไปพบนางสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งจึงถามว่า รู้จักเราหรือไม่ นางสุนัขจิ้งจอกตอบว่ารู้จัก
          สุนัข จิ้งจอกนั้นร่ายมนต์ขึ้นทำให้สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายตลอดถึงช้าง เสือและราชสีย์ให้อยู่ในอำนาจตนแล้ว ก็ตั้งตัวเป็นพญามีนามว่า สัพพทาฐิ ตั้งนางสุนัขจิ้งจอกให้เป็นพระมหเสี ครั้นต่อมาพญาสุนัขจิ้งจอกให้ราชสีย์ขึ้นเหยียบบนหลังช้าง 2 ตัว ส่วนตัวขึ้นยืนบนหลังราชสีย์กับนางสุนัขจิ้งจอก คุมฝูงสัตว์อื่นมีประมาณ 12 โกฏิ ยกไปล้อมกรุงพาราณสีเพื่อจะตีเอาราชสมบัติ
          คน ทั้งหลายในพระนครพาราณสีพากันตกใจกลัวรีบช่วยกันปิดประตูพระนคร ปุโรหิตเจ้าของมนต์ได้ไปเฝ้าพระเจ้ากรุงพาราณสีขอรับอาสาปราบสุนัขจิ่งจอก เมื่อได้รับอนุญาตแล้วไดขึ้นเชิงเทินถามสุนัขจิ้งจอกว่า ท่านจะชิงราชสมบัติด้วยวิธีใด พญาสุนัขจึงบอกไปว่า เราจะใช้ราชสีย์แผดเสียงให้แก้วหูคนแตกและตายหมด
          เมื่อ อำมาตย์ได้ทราบดังนั้นก็ลงมาให้ชาวพระนครปิดหูด้วยแป้งถั่วทั่วทุกคนจนถึง สัตว์เดรัจฉาน แล้ววันรุ่งขึ้นไปบนเชิงเทินบอกให้สุนัขจิ้งจอกบังคับให้ราชสีย์แผดเสียง ขึ้น 3 หนช้างที่ราชสีย์เหยียบก็ตกใจ สลัดพญาสุนัขจิ้งจอกตกลงใกล้ขาแล้วเหยียบศีรษะให้แหลกเป็นผงได้วิ่งหนีโดย เร็ว บรรดาสัตว์อื่น ๆ แก้วหูแตกตายตามกันหมด
          ส่วนราชสีย์ก็เผ่นโผนโจนเข้าป่าไป แล้วปุโรหิตผู้นั้นก็ลงจากเชิงเทินป่าวร้องให้คนทั้งหลายไปขนเอาเนื้อสัตว์มากินเป็นอาหาร
          คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้ คือ ผู้มักใหญ่ใฝ่สูงเกินตัว ย่อมเกิดความพินาศ

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
            วันสำคัญทางพระพุทะศาสนา ที่ชาวพุทธนิยมประกอบพิธีการบูชาเป็นต้น เพื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ มี 4 วัน ได้แก่
            วันวิสาขบูชา คือ วันเพ็ญเดือน 6 แต่ในปีที่มีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) เลื่อนไปเป็นวันเพ็ญเดือน 7 วันนี้นิยมกันว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งกาลสามสมัยของพระพุทธเจ้าตกในวันเพ็ญเดือนวิสาขะทั้งนั้น ดังนั้น เมื่อวันวิสาขะมาบรรจบแต่ละครั้งชาวพุทธจึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ
            วันอัฏฐมีบูชา คือ วันแรม 8 ค่ำเดือน 6 หรือเดือน 7 นับถัดจากวันวิสาขบูชาไป 7 วัน เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ที่ เมืองกุสินารา เป็นวันสำคัญที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอีกวันหนึ่ง เมื่อวันนี้มาเวียนบรรจบแต่ละครั้ง ชาวพุทธนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษอีกวัน
            วันมาฆบูชา คือวันเพ็ญเดือน 3 ถ้าปีใดมีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน)  เลื่อน ไปเป็นวันเพ็ญเดือน 4 วันนี้นิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหลักการของพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวเท่านั้น ในท่ามกลางพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายโดยบังเอิญ ในปีแรกที่พระพุทธเจ้าทรงวางหลักการของพระศาสนาในท่ามกลางสงฆ์นั้นซึ่งเรียก ว่า โอวาทปาฏิโมกข์
การประชุมในวันนั้น เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต เพราะเป็นการประชุมประกอบด้วยองค์ 4 คือ
          1. เป็นวันเพ็ญเดือน 3
          2. เป็นวันที่พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
          3. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์
          4. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนได้รับการบรรพชาอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
          การ ประชุมในวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงวางหลักการที่สำคัญของพระพุทธศาสนาโดยทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ เรียกอีกอย่างว่าหัวใจพระพุทธศาสนา อันได้แก่ (1)ไม่ทำชั่วทั้งปวง (2) ทำแต่ความดี (3) ทำจิตของตนให้ผ่องใส
            วันอาสาฬหบูชา  คือ วันเพ็ญเดือน 8 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศนากัณฑ์แรก ชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฟคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในปีที่ตรัสรู้ใหม่ เพราะผลของเทศนากัณฑ์แรกนี้ทำให้พระโกณฑัญญะ ในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ได้ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรม และขอบรรพชาอุบสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนี้จึงเป็นวันเกิดสังฆรัตนะ จัดว่าพระรัตนตรัยครบ 3 พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
 การบูชาพิเศษในวันสำคัญทั้ง 4 นี้ คือ
          1. ทำบุญตักบาตร
          2. ประชุมทำวัตรสวดมนต์
          3. ฟังเทศน์และเจริญสมาธิภาวนา
          4. เวียนเทียนระลึกถึงคุณของพระพุทธ คุณของพระธรรม และคุณของพระสงฆ์


พระธรรม
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย
            พระรัตนตรัย แปลว่า แก้วอันประเสริฐของชาวพุทธ 3 ประการ หรือ 3 ดวง ซึ่งหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ หมายถึง พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา หรือผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงค้นพบสัจธรรมด้วยการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แล้วทรงนำมาเผยแผ่สั่งสอนแก่คนในสังคมโลกให้ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่ถูก ต้องอันจะนำไปสู่ความสุขความเจริญในชีวิต  พระองค์มิได้ทรงคำนึงถึงความเหนื่อยยาก   แต่เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นมากกว่าประโยชน์สุขของพระองค์   พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวโลกอย่างมากหาผู้อื่นเสมอมิได้    จึงถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็นแก้วอันประเสริฐยิ่งของชาวโลก
            พระธรรม   คือ    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  พระธรรมอาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ  ได้หลายลักษณะ  เช่น  แบ่งตามระดับสูงต่ำ  สามารถแบ่งได้  2  ประเภท  คือ  โลกียธรรม  และ  โลกุตรธรรม 
               โลกียธรรม     เป็นธรรมอันเป็นไปในฝ่ายโลก  ยังเจือปนด้วยกิเลส  กรรมและผลของกรรม
             โลกุตรธรรม   เป็นธรรมชั้นสูง อยู่เหนือโลกียธรรม  ไม่มีกิเลสหรือกรรมมาเจือปน
          1. ปริยัติธรรม   เป็นการศึกษาพระธรรม เพื่อให้เข้าใจในหลักการหรือทฤษฎี   โดยการศึกษาค้นคว้า  คิดพิจารณาความหมาย   และเห็นแจ้งในความด้านทฤษฎีและหลักการ
          2. ปฏิบัติธรรม   เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนในเรื่องที่เรียนรู้มาแล้วในปริยัติธรรม  ซึ่งมีการปฏิบัติ  3   ขั้นตอน  คือ 
                   ศีลภาวนา      เป็นการควบคุมกายวาจาเพื่อขจัดกิเลสอย่างหยาบ
                   สมาธิภาวนา  เป็นการฝึกจิตใจให้สงบ ขจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป
                   ปัญญาภาวนา  เป็นการรู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเพื่อขจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป
          3. ปฏิเวธธรรม    เป็นการรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติจนถึงขั้นหลุดพ้นจากทุกข์
               พระสงฆ์  คือ  สาวกของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า  เป็นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ  ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้เผยแผ่พระศาสนา สอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
          พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
          1. อริยสงฆ์ คือ พระสงฆ์ที่เป็นอริยะบุคคล ได้แก่ พระโสดาบันพระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
          2. สมมติสงฆ์ คือ พระภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่บรรลุธรรม ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์

ไตรสิกขา
ไตรสิกขา หมายถึง สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา
            ศีล หมายถึง การประพฤติดี ประพฤติถูกต้องตามหลักทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน มีจำแนกไว้เป็นศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 เป็นการปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยปราศจากโทษทั้งทางกายและทางวาจา
          สมาธิ  หมายถึง การบังคับจิตใจของตนเองไว้ให้อยู่ในสภาพที่จะทำประโยชน์ให้มากที่สุดตามที่ตนต้องการ
           ปัญญา หมายถึง การฝึกฝนอบรม ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์ถึงที่สุดในสิ่งทั้งปวงตามที่มันจริง
โอวาท 3
          โอวาท 3 คือหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เรียกว่าเป็นคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
          โอวาท 3 นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือเป็นพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ที่มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย ณ เวฬุวนาราม ในวันเพ็ญ เดือน 3 (วันมาฆบูชา)
 โอวาท 3 ได้แก่
 1.  ไม่ทำชั่วทั้งปวง  คือ เว้นจากการทุจริต ได้แก่ การประพฤติชั่วด้วยกาย วาจาและใจ เช่น การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดคำหยาบ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ การคิดปองร้ายผู้อื่น เป็นต้น
 2. ทำแต่ความดี คือ ประกอบสุขจริต ได้แก่การประพฤติดี ประพฤติชอบด้วยกาย วาจาและใจ เช่น เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการดื่มน้ำเมา เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เว้นจากการคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น เป็นต้น
 3. ทำจิตให้ผ่องใส คือ การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากกิเลสหรือสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง คือ
          กามัจฉันทะ  ความพอใจในกามคุณ มัวเมาในกามอารมณ์
          พยาปาทะ ความคิดปองร้ายเพราะผูกใจเจ็บ จองเวร
          ถีนะมิทธะ ความหดหู่ใจ ท้อแท้ใจ และซึมเซา
          อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญใจ
          วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจ ตกลงใจไม่ได้ว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว

พุทธศาสนสุภาษิต
สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ
คนได้เกียรติด้วยสัจจะ
          สัจจะ หรือคำสัตย์ เป็นเครื่องหมายของความเป็นจริง คนที่ไม่มีสัจจะก็คือคนโลเล เป็นที่หาคนเชื่อถือไม่ได้ เป็นคนโดดเดี่ยว หาความดีในตัวแทบไม่มีเลย เพราะสาเหตุไม่มีความจริงใจต่อผู้อื่น ผลของความไม่มีสัจจะ สามารถพาให้สังคมวุ่นวายเดือดร้อน ผิดกับคนที่มีสัจจะ เขามีความจริงใจต่อผู้อื่น จึงเป็นที่รักและไว้วางใจของผู้อื่น ผู้อื่นหรือคนอื่นให้เกียรติอยู่เสมอ จึงเป็นเหตุทำให้ตนเองมีชื่อเสียงและเกียรติยศปรากฏไปทั่ว
ยถาวาที ตถาการี
พูดเช่นไร ทำเช่นนั้น
          คนเราเมื่อพูดอะไรไปควรมีสติอยู่เสมอ และยอมรับผิดชอบคำพูดที่พูดไป พร้อมทั้งทำได้อย่างที่พูดนั้น ไม่ใช่เข้าทำนองที่ว่า ดีแต่พูด  ดัง นั้นคนเราควรปฏิบัติตนให้ได้อย่างที่ตนพูดไป เพราะคนที่พูดเช่นไรปฏิบัติตนได้เช่นนั้น ย่อมนำมาซึ่งความเชื่อถือ มีคนไว้วางใจคำพูดนั้น และได้รับเกียรติอยู่เสมอ



พระไตรปิฎก
ลักษณะเฉพาะและความสำคัญของพระไตรปิฎก
          พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้
แบ่งเป็นหมวดได้ 3 หมวด คือ
            พระวินัยปิฎก หมวด วินัย คือ พุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ และภิกษุสงฆ์ แบ่งออกเป็น 5 คัมภีร์
            พระสุตตันตปิฎก หมวดพระสูตร คือพระธรรมเทศนา คำบรรยายต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 5 นิกาย
            พระอภิธรรมปิฎก หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่ง เป็น 7 คัมภีร์
         
เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก
หากินผิดถิ่นย่อมพินาศ
          ใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สกุณัคคิสูตร มีเรื่องเล่าว่า มีเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบจับนกมูลไถอย่างรวดเร็ว นกมูลไถเมื่อถูกเหยี่ยวจับได้ก็รำพึงรำพันว่า เรา เป็นผู้อับโชค มีบุญน้อย ที่เที่ยวหากินในถิ่นของผู้อื่น อันไม่ใช่ถิ่นเรา ถ้าวันนี้เราเที่ยวหากินในถิ่นบิดามารดาของเรา เหยี่ยวตัวนี้คงจับเราไม่ได้ เราคงสู้ได้ 
          ฝ่ายเหยี่ยวได้ยินดังนั้นจึงถามว่า แน่ะนกมูลไถ ถิ่นบิดามารดาของเจ้า อันเป็นที่ทำมหากินของเจ้าเป็นยังไง นกมูลไถจึงตอบว่า ที่ที่เป็นก้อนดิน ซึ่งเขา (ชาวนา) ไถไว้ เหยี่ยวเมื่อได้ยินดังนั้นจึงมีความหยิ่งในกำลังของตนอวดอ้างกำลังของตน จึงปล่อยนกมูลไถไปพร้อมกับบอกว่า เจ้าจงลงไปเถิด ถึงเจ้าจะไปในถิ่นของเจ้าก็ไม่พ้นเราได้ 
          ฝ่ายนกมูลไถเมื่อเหยี่ยวปล่อยแล้วได้บินไปยังที่ที่มีก้อนดิน ซึ่งชาวนาทำการไถไกไว้แล้วบินไปเกาะที่ก้อนดินก้อนใหญ่ยืนท้าเหยี่ยวว่า แน่ะเหยี่ยว บัดนี้ท่านจงบินมาจับเราเถิด ฝ่ายเหยี่ยวได้ยินดังนั้นมีความหยิ่งในพละกำลังของตน จึงบินโฉบนกมูลไถอย่างรวดเร็ว
          ส่วนนกมูลไถซึ่งระวังตัวอยู่แล้วก็หลบเข้าซอกก้อนดินทันที  นกเหยี่ยวโฉบลงโดยมาทันระวังตัวอกได้กระแทกก้อนดินอย่างแรง ทำให้เหยี่ยวเสียชีวิตทันที

เรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลาย ดังนี้
          ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจรของภิกษุ คือ อะไร คือ กามคุณ 5 กามคุณ 5 เป็นไฉน คือ รูปอันพึงรู้จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก...รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น...โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์อื่นมิใช่โคจรของภิกษุ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน อันโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์  ซึ่ง เป็นของบิดาตนอันเป็นโคจร มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์ ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นโคจร คืออะไร คือสติปัฏฐาน 4 สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ ฯ

ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา
          ศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ควรทราบในชั้นนี้ คือ
 1. ตัณหา  หมายถึง ความทะยานอยาก ความดิ้นรน ความปรารถนา ความเสน่หา มี 3 อย่าง คือ
          ก. กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่
          ข. ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่น อย่างเป็นนี่
          ค. วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย
2. ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ ความชอบใจ ความยินดี ความต้องการ ความรักใคร่ในสิ่งนั้น


การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การเจริญสติ
            การเจริญสติ หมาย ถึง การกำหนดอิริยาบถให้ทันปัจจุบันและรับรู้ความรู้สึกตามทวารต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอตลอกเวลาให้มากที่สุด ความรู้สึกของคนมีทางรู้อยู่ 6 ทาง (ทวาร) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้กำหนดรู้ไปตามความจริงที่ใจรู้พร้อมกับกิริยาเคลื่อนไหวอื่น ๆ ทำอะไรก็ให้มีสติกำหนดรู้ให้ทันปัจจุบันให้มากที่สุด
          อิริยาบถ ใหญ่ คือ การยืน เดิน นั่ง นอน ส่วนอิริยาบถย่อย คือการเคลื่อนไหวกายทุกกิริยา เช่น การรับประทานอาหาร ดื่ม เคี้ยว กลืนเหลียว ก้ม เงย หยิบ ยก ตลอดจนการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ควรกำหนดให้ได้ให้มากที่สุด ความจริงไม่มีใครกำหนดได้ทุกกิริยาบถ ย่อมมีการพลั้งเผลอ เมื่อพลั้งเผลอก็ให้กำหนดตามความจริงว่า เผลอหนอ
          สรุป การเจริญสติ เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะให้เกิดกับตนเองเสมอทั้งในขณะกำลังทำงานและกำลังพูดเพื่อป้องกันการผิดพลาด

การเดินจงกรม
            การเดินจงกรม คือการการเดินเป็นเส้นตรงระยะไม่เกิน 3 เมตร กลับไปกลับมา และในขณะที่เดินนั้นผู้เดินต้องมีสติกำหนดอิริยาบถให้ทันปัจจุบันตลอดเวลา การกำหนดอิริยาบถให้ทันปัจจุบัน คือ การพูด ค่อย ๆ หรือ นึกในใจตามกิริยาอาการที่กำลังกระทำอยู่โดยพูดหรือนึกพร้อมกับกิริยาอาการ ที่กระทำ (ไม่พูดก่อนหรือหลังการกระทำ)
ท่าเริ่มเดิน
          1. ยืนตัวตรง มือทั้งสองข้างปล่อยตามสบายแนบลำตัว เท้าชิดกัน
          2. ใบหน้าและลำคอตั้งตรง ทอดสายตาลงพื้นห่างจากปลายเท้าประมาณ 3-4  เมตร ไม่ก้มมองปลายเท้าและไม่มองระดับสูงไกลออกไปเพราะจะทำจิตสงบช้า
          3. ยกมือมาวางที่หน้าท้องเหนือสะดือ แล้วยกมือขวามาวางทับมือซ้าย พร้อมกับเอาสติมาพิจารณากำหนดอิริยาบถ การยกมือนั้นใช้องค์ภาวนา ยก  หนอ  มา  หนอ  วาง   หนอ
การเดิน
          องค์ภาวนา คือ ขวา ย่างหนอ,-ซ้ายย่าง-หนอ

การเจริญปัญญา
            สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่คิดถึงเรื่องอื่น เช่น ขณะที่นักเรียนกำลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จิตใจของนักเรียนก็จดจ่ออยู่เฉพาะเรื่องที่คุณครูกำลังสอนโดยไม่ได้คิดถึง เรื่องอื่น
          การเจริญสมาธิ คือ การฝึกสมาธิด้วยการยืน เดินและนั่ง เป็นต้น ต่อเนื่องกันทุกวัน อย่างสม่ำเสมอจนเป็นสมาธิ
          ปัญญา คือ ความรอบรู้สิ่งที่ควรรู้ รู้จริง รู้แท้ รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร เป็นการรู้อันเกิดจากเหตุและผล
          การเจริญปัญญาหมายถึง การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ ด้วยการลงมือปฏิบัติบ้าง ด้วยการฟังมาก ๆ บ้าง จนเกิดปัญญาความรอบรู้

การสวดมนต์ไหว้พระ
          การ สวดมนต์ไหว้พระเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้จิตใจให้เป็นสมาธิ เพราะในขณะสวดมนต์จิตจะเป็นสมาธิตัดความกังวลต่าง ๆ จิตที่ฟุ้งซ่านจะเริ่มสงบลง ดังนั้น นักเรียนนักเรียนควรสวดมนต์ก่อนนอนทุก ๆวัน


การสวดมนต์ก่อนนอน
          ชาว พุทธทั้งหลายผู้มีความเลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธศาสนานั้น ก่อนที่จะพักผ่อนหลับนอนประจำวันจะนิยมสวดมนต์ก่อน เป็นภารกิจสุดท้ายประจำวัน โดยมีวิธีปฏิบัติ คือ จุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย คือ จุดเทียน 2 เล่ม และจุดธูป 3 ดอก เป็นอย่างน้อย ปักธูปให้เรียบร้อยแล้วนั่งคุกเข่าประนมมอ กราบพระรัตนตรัย 3 ครั้ง แล้วประนมมือกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ดังต่อไปนี้
          นะโม ตัสสะ  ภะคะวะโต อะระหะโต
          สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ (กล่าว 3 หน)
          อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
          อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชยามิ
          อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชยามิ ฯ
กราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง พร้อมกับระลึกถึงพระรันตรัยขณะกราบ ดังนี้
          กราบครั้งที่ 1 ระลึกว่า   พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้า  เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
          กราบครั้งที่ 2 ระลึกว่า   ธัมโม เม นาโถ พระธรรม         เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
          กราบครั้งที่ 3 ระลึกว่า   สังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์          เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
เสร็จแล้ว นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจสวดมนต์ต่อไปนี้ ดังนี้

บทนอบน้อมพระรัตนตรัย
            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
บทพระไตรสรณคมน์
          พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง  สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง  สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง  สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง  สะระณัง คัจฉามิ ฯ
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
          อิ ติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคโต โลกะวิทู อะนุต ตะโร ปุริสะ ทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
          สวากขากโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกสลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
          สุ ปะติปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ,ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ ,อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,เอสะ ภะคะวะโต,สาวะกะสังโฆ,อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โกกัสสาติ ฯ
บทแผ่เมตตาก่อนนอน
          อะหัง สุขิโต โหมิ นิททุกโข อะเวโร อัพยาปัชโฌ อะนีโฆ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          ขอ ข้าพเจ้าจงถึงความสุข ปราศจาความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความคับแค้นใจ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
          สัพเพ ตตา สุขิตา โหนตุ นิททุกขา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันติฯ
          ขอ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงถึงความสุขปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความคับแค้นใจ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

พุทธสาวก , พุทธสาวิกา
พระราธะ
          พระ ราธะ เป็นบุตรพราหณ์ในกรุงราชคฤห์ เดิมเป็นพราหมณ์ยากจน ครั้นแก่เฒ่าลงบุตรภริยาไม่เลี้ยงดู จึงเที่ยวไปอาศัยภิกษุสงฆ์เลี้ยงชีวิตอยู่ในพระวิหารเชตวัน ท่านมีความประสงฆ์อยากจะบวช แต่ไม่มีพระภิกษุสงฆ์องค์ใดบวชให้ เมื่อไม่ได้อุปสมบทตามประสงฆ์ จึงมีร่างกายซูบซีดผิวพรรณไม่ผ่องใส
          วัน หนึ่งพระศาสดาทรงดำเนินอยู่ในพระวิหาร ทอดพระเนตรเห็นท่าน จึงตรัสตรัสถามได้ทราบความแล้ว จึงรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่าใครระลึกถึงอุปการะของพราหมณ์นี้ได้บ้าง พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าพระองค์ระลึกได้อยู่ ครั้งหนึ่งข้าพระองค์เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พราหมณ์ผู้นี้ให้อาหารแก่พระองค์ทัพพีหนึ่ง  พระศาสดาตรัสสรรเสริญพระสารีบุตรกราบทูลว่า ดีล่ะ ๆสารีบุตร สัตบุรุษเป็นคนกตัญญูกตเวที ถ้าอย่างนั้นสารีบุตรให้พราหมณ์นั้นบวชเถิด
          ครั้น ทรงพระอนุญาตให้พระสารีบุตรบวชราธะพราหมณ์อย่างนี้แล้ว ตรัสสั่งให้เลิกอุปสัมปทาด้วยสรณคมน์ 3 ที่ได้ทรงอนุญาตไว้แล้วแต่เดิม ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไปทรงอนุญาตให้สงฆ์อุปสมบทคนชื่อนั้นครั้งหนึ่งก่อน เรียกว่าญัตติแล้วประกาศให้สงฆ์อุปสมบทคนชื่อนั้นอีก 3 ครั้ง เรียกว่า อนุสาวกนา อย่างนี้เยกว่าอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม
          พระราธะครั้นอุปสมบทแล้ว ภายหลังวันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระศาสดาและทูลว่า ขอ พระองค์จงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดยย่อ ๆ ที่ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วจักหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว เป็นคนไม่ประมาท มีความเพียรส่งจิตไปในภาวนา พระศาสดาตรัสสอนว่า รา ธะ สิ่งใดเป็นมาร ท่านจงละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นเสียอะไรเล่าชื่อว่ามาร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญาณ ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน มีความสิ้นไปเสื่อมไปเกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่ามาร ท่านจงละความกำหนัดพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญาณนั้น
          พระ ราธะรับโอวาทที่พระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้วก็เที่ยวจาริกไปกับพระสารีบุตร ครั้นบรรลุพระอรหันต์แล้วท่านพามาเฝ้าพระศาสดา ๆ ทรงปราศรัยตรัสถามว่า ลัทธิวิหาริกของท่านผู้นี้เป็นอย่างไร พระสารีบุตรทูลสรรเสริญว่า เป็นคนว่าง่ายอย่างยิ่ง เมื่อแนะนำสั่งสอน สิ่งนี้ควรทำ ส่งนั้นไม่ควรทำ ท่านจงทำสิ่งนี้ อย่าทำสิ่งนั้น ดังนี้ไม่เคยโกรธเลย
          พระศาสดาตรัสสรรเสริญให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาเป็นตัวอย่างว่า ท่าน ทั้งหลายจงเป็นคนว่าง่ายอย่างราธะเถิด เมื่ออาจารย์ชี้โทษสั่งสอนอย่าโกรธควรคบบัณฑิตที่ตนสำคัญเห็นว่าเป็นคนแสดง โทษกล่าวข่ม ให้เป็นดุจคนชี้บอกขุมทรัพย์ให้ เพราะคบบัณฑิตเช่นนั้น มีคุณประเสริฐ ไม่มีโทษเลย และทรงสรรเสริญพระราธะว่าเป็นยอดของภิกษุที่มีปฏิภาน คือ ญาณแจ่มแจ้งในธรรมเทศนา ฯ


หน้าที่ชาวพุทธ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัด     
          วัด เป็นสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา หรือเป็นสถานที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวัดในพระพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อยู่ภายใต้การคุ้มครองแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 วัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
          1.วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เป็นวัดที่ได้รับการอนุญาตถูกต้องและมีการฝังลูกนิมิตหรือผูกพุทธสีมาเรียบร้อย
          2. สำนักสงฆ์ วัดที่ยังไม่ได้รับอนุญาตถูกต้องและยังไม่ได้ผูกพุทธสีมาหรือฝังลูกนิมิต
เขตพุทธาวาส
          เขต พุทธาวาส เป็นส่วนหนึ่งของวัด ซึ่งประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมหรือเป็นวัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดย เฉพาะ ไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
เขตสังฆาวาส เขตสังฆาวาส เป็นเขตที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ เช่น กุฏิ เป็นต้น
วิหาร   เป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และเป็นที่อยู่ของพระภิกษุ
โบสถ์   เป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรมต่าง ๆ เช่น ทำพีธีอุปสมบทและสวดปาฏิโมกข์ทุก ๆ ครึ่งเดือน
เขตเจดียสถาน            เป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อบรรจุสิ่งที่นับถือ เช่น ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธรูป พระพุทธฉายา พระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น
การปฏิบัติตนต่อสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัด
            วัด เป็นสถานที่ที่ชาวพุทธควรให้ความเคารพนับถือ เมื่อเข้าไปในบริเวณวัดควรปฏิบัติตน ดังนี้
          1. ไม่ส่งเสียงดัง
          2. ไม่วิ่งเล่น
          3. ไม่ทำลายสิ่งของภายในวัด
          4. ไม่ดื่มสิ่งเสพติด
          5. ไม่เล่นการพนัน
การบรรพชาในพระพุทธศาสนา
          ผู้ชาย ที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อประสงค์จะบวชในพระพุทธบัญญัติกำหนดให้บวชเป็นสามเณร ซึ่งเรียกว่า บรรพชา คือ ต้องรักษาศีล 10 ส่วนผู้ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (ขึ้นไป) เมื่อประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา ตามพระพุทธบัญญัติกำหนดให้บวชเป็นพระภิกษุซึ่งเรียกว่า อุปสมบท คือ ต้องรักษาศีล 227 ข้อ
          ใน ปัจจุบันมีสถานศึกษาหลายแห่งนิยมจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ในช่วงปิดภาคเรียนเป็นเวลา 10 วันบ้าง 15 วันบ้าง และ 30 วันบ้าง และในการบรรพชาแต่ละครั้งมีจุดประสงค์ ดังนี้
          1. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน
          2. เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          3. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
          4. เพื่อให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับศาสนาที่ตนนับถือ
          5. เพื่อให้นักเรียนรู้จักนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          6. เพื่อให้นักเรียนรู้จักปรับตนในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
การเข้าค่ายคุณธรรม
            ปัจจุบัน โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาหลายแห่งนิยมจัดให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าค่าย คุณธรรม โดยใช้ชื่อว่า ค่ายจริยธรรมบ้าง ค่ายพุทธบุตรบ้าง ค่ายแผ่นดินธรรมบ้าง ค่ายคุณธรรมบ้าง และใช้ระยะเวลาในการเข้าค่าย 3 วัน 2 คืนบ้าง และ5 วัน 4 คืน บ้าง ขึ้นอยู่กับโอกาส
การเข้าค่ายคุณธรรมแต่ละแห่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
          1. เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสอยู่ค่ายคุณธรรม ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังจนเกิดการพัฒนาจิตใจและกิจนิสัยที่ดี
          2. เพื่อให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดี เกิดความสำนึกในการรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือตนเอง สามารถร่วมกันได้ดี และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          3. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง
          4. เพื่อให้นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนในบทบาทที่ถูกต้อง ถึงการเป็นบุตรที่ดี การเป็นศิษย์ที่ดี การเป็นเพื่อนที่ดี การเป็นพลเมืองที่ดี ตลอดทั้งการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
          5. เพื่อฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการแสดงออกที่ดี
          ส่วน สถานที่ในการเข้าค่ายนั้นบางแห่งจัดที่วัด บางแห่งจัดที่โรงเรียน ไม่มีกำหนดแน่นอน ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการดำเนินงานพิจารณาความเหมาะสม
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
            การ แสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตนเป็นการแสดง ตนให้ปรากฏว่ายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชีวิตของตนนั่นเอง
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะของนักเรียน
            ผู้ บริหารโรงเรียนหรือผู้แทนโรงเรียนเตรียมรายชื่อนักเรียน ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องไทยทาน นำนักเรียนไปพบพระสงฆ์ที่วัด หรือนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 4 รูป มาทำพิธีที่ห้องประชุมของโรงเรียนก็ได้
วิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
          ตัวแทนนักเรียนนั่งคุกเข่ายกพานดอกไม้ ธูปเทียน ประเคนต่อพระสงฆ์พร้อมรายชื่อนักเรียนที่เข้าร่วมพิธีทั้งหมด
          ผู้ เข้าร่วมพิธี นั่งคุกเข่า หัวหน้าจุดธูปเทียน กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ สงบจิตใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย หัวหน้ากล่าวนำคำบูชาพระรัตนตรัย คนอื่นกล่าวตามทีละวรรค

อิมินา สักการะเรนะ                พุทธัง ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า                ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)
อิมินา สักกาเรนะ                            ธัมมัง ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม                   ด้วยเครื่องสักการะนี้
อิมินา สักกาเรนะ                            สังฆัง ปูเชมิ
ข้าเจ้าขอบูชาพระสงฆ์             ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)
แล้วกล่าวคำนมัสการพระพุทธเจ้า และคำขอแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อรหังสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (3 จบ)
เอเต (ชายป มะยัง ภันเต สุจิรปรินิพุตัมปิ ตังภะคะวะนตัง สะระณัง คัจฉามิ
เอเต (หญิง) ธัมมัญจะ สังฆัญจะ พุทธะมะ           มะ (ชาย)     กาติ โน สังโฆ ธาเรตุ
คำแปล
            ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึง พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้ว ทั้งพระ
ธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์จงรับข้าพเจ้าไว้เป็นพุทธมามกะด้วยเถิด
          เมื่อกล่าวจบ พระสงฆ์ทั้งหมดประนมมือรับรับ สาธุ ผู้เข้าร่วมพิธีนั่งพับเพียบ ประนมมือฟังโอวาท
จาก ประธานสงฆ์ จบแล้ว หัวหน้านักเรียนนำกล่าวอาราธนาศีล 5 และสมาทานศีล 5 (กล่าวตามพระเป็นตอน ๆ) แล้วกล่าวสรุปหลังจากสมาทานศีลพระสงฆ์บอก 1 ครั้งว่า ว่าตาม 3 ครั้ง
อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทามิ สามาทิยามิ
ผู้เข้าร่วมพิธีหรือตัวแทน รับพุทธมามกบัตรถวายเครื่องไทยทาน พระสงฆ์อนุโมทนากรวดน้ำรับพร
แล้วคุกเข่ากราบพระสงฆ์ 3 ครั้ง เป็นเสร็จพิธี หรือหลังจากเสร็จพิธี อาจมีการทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ก็ได้


มรรยาทชาวพุทธ
การประเคนของแด่พระภิกษุ
          การ ประเคนของแด่พระภิกษุ คือ การถวายของให้พระได้รับถึงมือ ของที่ประเคนนั้นต้องเป็นของที่คนเดียวพอยกได้อย่างธรรมดา ไม่ใช่ของหนักหรือใหญ่โตจนเกินไป ไม่มีวัตถุอนามาส คือ เงินทอง หรือของกะไหล่ด้วยเงินแท้ปนอยู่ด้วย เพราะเป็นของไม่เหมาะแก่ภาวะของพระที่จะรับได้ และถ้าเป็นของเคี้ยวของฉันต้องประเคนได้เฉพาะกาล นอกกาล คือ เวลาวิกาล ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงย่ำรุ่งวันใหม่ไม่ควรนำมาประเคน
วิธีประเคนนั้นให้พึงปฏิบัติ  ดังนี้
          1. พึงนำมาประเคนเข้าไปให้ใกล้พระผู้รับ ประมาณ 1 ศอก ไม่ถึงศอกหรือไม่เกินศอกคืบก็ได้ จะนั่งหรือยืนแล้วแต่สถานที่ที่พระนั่งอยู่นั้นอำนวย
          2. จับของที่ประเคนด้วยมือทั้งสองก็ได้ มือเดียวก็ได้ ยกให้สูงขึ้นเล็กน้อย แล้วน้อมถวายพระซึ่งท่านจะยื่นมือทั้งสองออกมาจับ ถ้าผู้ถวายเป็นสตรี  พึงวางลงบนผ้ากราบที่พระปูรับอยู่ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี หนหนึ่ง เป็นอันเสร็จการประเคน
          หลักสำคัญของการประเคนนี้ ต้องแสดงออกด้วยความเคารพไม่ใช่เสือกไสให้หรือทิ้งให้โดยไม่เคารพ
การประเคนของพระภิกษุ
ขั้นที่ 1
          1. ถือของสองมือ
          2. นั่งคุกเข่า เท้าตั้ง และเดินเข้าถือของสองมือ เข้าไปหาพระภิกษุ จนระยะใกล้ประมาณ 1 ศอก
 ขั้นที่ 2   ผู้ประเคนชาย
          1. นั่งคุกเข่าบนส้นเท้า ปลายเท้าตั้งก้มตัวลงเล็กน้อย
          2. ยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสองน้อมสิ่งของนั้นใกล้พระภิกษุผู้รับประเคน ยกพื้นพื้น ส่งประเคนถึงมือพระภิกษุผู้รับประเคน
ผู้ประเคนหญิง
          1. นั่งพับเพียบ หรือนั่งบนส้นเท้า
          2. ยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสองน้อมเข้าไปใกล้พระภิกษุผู้รับประเคนพอสมควร
          3. วางสิ่งของนั้นบนผ้าที่พระภิกษุทอดรับประเคน
ขั้นที่ 3 เมื่อประเคนของเสร็จแล้ว ถอยห่างจากสิ่งของที่ประเคนพอประมาณ แล้วไหว้หรือกราบ   
ข้อควรระวัง สิ่งของที่ประเคนแล้วห้ามจับต้อง หากจับต้อง ถือว่าขาดประเคน ต้องประเคนสิ่งของนั้นใหม่

การปฏิบัติตนในขณะฟังธรรม
          ขณะที่พระภิกษุกำลังแสดงธรรม นักเรียนควรปฏิบัติตนในขณะฟังธรรม ดังนี้
          1. ฟังด้วยความเคารพ
          2. ฟังด้วยอาการเรียบร้อย
          3. จิตใจยึดมั่นอยู่เฉพาะหลักธรรมที่ท่านกำลังแสดง
          4. ไม่พูดคุยในขณะกำลังฟังธรรม
          5. ไม่ลุกออกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็น



ชาวพุทธตัวอย่าง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
          พ่อ ขุนรามคำแหงมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า ขุนรามราช เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสืองในสมัยทรงพระเยาว์พระองค์ ทรงศึกษาอยู่ในสำนักสุกลทันตฤษี เมืองละโว้ หรือจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน
          เมื่อ พระชนมายุได้ 19 พรรษา ได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดที่ยกทัพมาตีเมืองตาก การรบของทั้งสองฝ่ายได้ทำยุทะหัตถีหรือการรบบนหลังช้าง ในตอนแรกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาของพระองค์เป็นฝ่ายเสียเปรียบช้าง ที่ทรงประทับ สู้กำลังข้าศึกไม่ได้
          พ่อ ขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งในตอนนั้นดำรงพระยศเป็นรามมาราชได้รีบไสช้างเข้าไป ช่วยและสู้รบกับขุนสามชนจนได้ชัยชนะความกล้าหาญในครั้งนี้ ทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานนามให้เป็น รามคำแหง หมายถึง รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ
          พ่อ ขุนรามคำแหง ทรงเป็นบุตรที่ดีเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระราชบิดา พระราชมารดา และทรงเป็นพระอนุชา (น้องชาย) ที่ให้ความเคารพรักต่อขันบานเมือง พระเชษฐา (พี่ชาย)
ผลงาน
            พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงริเริ่มประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นใช้เองเมื่อปีพุทธศักราช 1826   ทรง ปกครองประชาชนให้ได้รับความสุข ยุติธรรม ด้วยระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ทรงส่งเสริมให้มีการค้าโดยเสรี และทรงรับเอาพระพุทธศาสนาจากลังกาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย

สมเด็จสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิโนรส
          สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวาสุกรี  เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นพระโอรสที่ 28 โดยท่านเจ้าจอมมารดาจุ้ยเป็นพระราชมารดา
          สมเด็จ พระเจ้ามหาสมณเจ้า ฯ ทรงศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย ขอมและบาลี รวมทั้งพิธีลงเลขลงยันต์ในสำนักสมเด็จพระวันรัตจนพระองค์ทรงมีความรอบรู้ เชี่ยวชาญ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติก็ได้โปรด สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งประมุขสงฆ์พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขสงฆ์ อยู่ประมาณ 4 ปีเศษ ๆ พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคชราภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 9 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2396 นับพระชนมายุได้ 63 พรรษากับ 4 วัน
ผลงานของพระองค์
          ในระหว่างที่สมเด็จสมณเจ้า ฯ ยังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระองค์ได้ทรงกวีนิพนธ์ไว้หลายเรื่องด้วยกัน คือ
ร้อย แก้วร้อยกรองอันมีเรื่องสำคัญต่าง ๆ เช่น ปฐมโพธิ์ ร่ายทำขวัญนาค โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาชาติ 11 กัณฑ์ ลิลิตตะเลงพ่าย และฉันท์วรรณพฤติ เป็นต้น
          พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นรัตนกวีเอกพระองค์หนึ่งของเมืองไทย

ศาสนพิธี
           
            การอาราธนาศีล  คือ การเชื้อเชิญพระสงฆ์ในพิธีให้ศีล ให้สวดพระปริตร หรือแสดงธรรม เป็นธรรมเนียมมีมาแต่ดั้งเดิมที่จะต้องอาราธนาก่อน พระสงฆ์จึงจะประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ และการอาราธนาที่ถือเป็นธรรมเนียมกันมามี 3 กรณีนี้เท่านั้น
         
            วิธีอาราธนา นิยมกันว่า ถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะยกสูง เจ้าภาพและแขกนั่งเก้าอี้ ผู้อาราธนาเข้าไปยืนระหว่างเจ้าภาพกับแถวพระสงฆ์ตรงกับรูปที่ 3 หรือที่ 4 ห่างแถวพระสงฆ์พอสมควร หันหน้าไปทางโต๊ะที่บูชาประนมมือไหว้พระพุทธรูปก่อน แล้วยืนประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาตามแบบที่ต้องการ ถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะต่ำธรรมดา เจ้าภาพและแขกอื่นก็นั่งกับพื้น  ผู้ อาราธนาต้องเข้าไปนั่งคุกเข่าต่อหน้าแถวพระสงฆ์ตรงหัวหน้า กราบพระที่โต๊ะบูชา 3 ครั้งก่อน แล้วประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาที่ต้องการตามแบบ คือ
          พิธีสวดมนต์เย็น อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร
          พิธีเลี้ยงพระ อาราธนาศีล
          พิธีถวายทานทุกอย่าง อาราธนาศีล
          พิธี เทศน์ ถ้าเทศน์ต่อจากสวดมนต์ ตอนสวดมนต์ไม่ต้องอาราธนาศีล เริ่มต้นด้วยอาราธนาพระปริตรแล้วอาราธนาศีล ตอนพระขึ้นเทศน์ รับศีลแล้วอาราธนาธรรมต่อ แต่ถ้าสวดมนต์กับเทศน์ไม่ได้ต่อเนื่องกันถือว่าเป็นคนละพิธี ตอนสวดมนต์ก็อาราธนาตามแบบพิธีสวดมนต์เย็นที่กล่าวแล้ว ตอนเทศน์ก็เริ่มต้นด้วยอาราธนาศีลก่อน จบรับศีลแล้วจึงอาราธนาธรรม

คำอาราธนาศีล 5
          มะยัง ภันเต, วิสุง สสุง รักขะณัตถายะ,ติสะระนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง สสุง รักขะณัตถายะ,ติสะระนะ สะหะ,  ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          ตติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง สสุง รักขะณัตถายะ,ติสะระนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          บทนี้ใช้สำหรับการอาราธนารวมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ถ้าอาราธนาคนเดียวให้อาราธนาด้วยคำขึ้นต้นว่า อะหัง ลงท้ายว่า ยาจามิฯ

คำอาราธนาธรรม
            พรัหมา จะ โลกาธิปตี สะหัมปะติ
กัตอัญชลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชังฯ

คำอาราธนาพระปริตร
          วิปัตติปะฏิพาหายะ,      สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,
สัพพะทุกขะวินาสายะ,            ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
          วิปัตติปะฏิพาหายะ,      สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,
สัพพะภะยะวินาสายะ,             ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
          วินาสายะ,                 ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
สัพพะโรคะวินาสายะ,             ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง

การทอดผ้าป่า
          ผ้าป่า ครั้งพุทธกาลเรียกว่า ผ้าบังสุกุลจีวร คือ ผ้าเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของหวงแหนทิ้งอยู่ตามป่าดงบ้างตามป่าช้าบ้าง ตามถนนหนทางและห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บ้าง ที่สุดจนกระทั่งที่เขาอุทิศวางไว้แทบเท้า รวมเรียกว่า ผ้าป่า ประเพณีการทอดผ้าป่ามีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ยังไม่ได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับจีวรที่ชาวบ้านถวายโดยเฉพาะ
          ทรง อนุญาตแต่เพียงให้พระภิกษุแสวงหาผ้าบังสุกุล คือ ผ้าเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของทิ้งไว้ หรือผ้าที่เขาห่อศพทิ้งไว้ตามป่าช้า และเศษผ้าที่ทิ้งอยู่ตามถนนหนทาง นำมาซักฟอกตัดเย็บกันเป็นจีวรตามที่ต้องการแล้วใช่นุ่งห่มชาวพุทธในสมัย พุทธกาลเห็นความลำบากของพระภิกษุในเรื่องนี้จึงมีความประสงค์จะบำเพ็ญกุศล เพื่อไม่ให้ขัดต่อพระพุทธบัญญัติ โดยได้จัดหาผ้าที่สมควรแก่พระภิกษุไปทอดทิ้งไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ป่าช้า เพื่อให้พระภิกษุผู้แสวงหาจะเห็นและนำไปประกอบเป็นผ้าจีวร ด้วยเหตุนี้จึงนิยมเรียกว่า ผ้าป่า 
          แต่ ครั้งนั้นการทอดผ้าป่าไม่ได้นิยมกาล แล้วแต่ใครศรัทธาจะทำเมื่อไร ก็ทอดเมื่อนั้น เมื่อทรงบัญญัติจีวรกาล คือ การแสวงหาและทำจีวรขึ้นจำกัด 1 เดือน นับแต่ออกพรรษาแล้วถ้าได้กรานกฐินด้วยขยายออกไปอีก 4 เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือน 4 การทอดผ้าป่าจึงนิยมทำกันในระยะนี้ ส่วนมากทำในฤดูออกพรรษาใหม่ ๆ แม้ทางราชการในประเทศไทยก็เคยปรากฏว่ามีทำในระหว่างเดือน 12 พร้อมกับพระราชพิธีลอยพระประทีป
          การ ทอดผ้าป่าที่ทำกันในประเทศไทย มีทำกันหลายอย่าง อย่างที่เรียกว่า ผ้าป่าแถมกฐิน คือ ทอดกฐินแล้วเลยทอดผ้าป่าด้วยก็มี ทำกันอย่างสัณฐานประมาร คือ เอาเครื่องไทยธรรมประจุกระถาง กระบุง กระจาด หรือถังสังกะสี แล้วเอากิ่งไม้ปักเอาผ้าห้อย อุทิศตั้งไว้ตามทางที่พระเที่ยวบิณฑบาตผ่านมา หรือนำไปตั้งไว้ตามพระอารามแล้วให้สัญญาณให้พระรู้ว่ามีผ้าป่ามาถึงก็มี เครื่องผ้าป่านี้อย่างน้อยมีแต่ผ้าผืนหนึ่งห้อยกิ่งไม้ไปปักตามที่กล่าวแล้ว ก็มี
          ที่ ทำกันอย่างขนาดใหญ่ถึงป่าวร้องหรือแจกฎีกาให้ทายกลับไปคนละรูปสองรูปจนครบ จำนวนภิกษุสามเณรทั้งวัด แล้วนำมาทอดพร้อมกันตามกำหนด ทำกันครึกครื้นถึงแห่งแหนสนุกสนานประกวดประขันกัน พอถึงวัดแล้วก็ประชุมถวายอุทิศต่อหน้าสงฆ์เช่นนี้ก็มี บางแห่งในชนบททำผ้าป่าบรรทุกเรือพ่วงไปทางน้ำ เท่านี้ ก็ได้ชื่อว่าผ้าป่าโยง ผ่านไปถึงวัดไหน ก็ทอดวัดนั้นเรื่อยไปดังนี้ก็มี
          พิธี ทอดผ้าป่านี้จะแบบไหนก็ตาม ข้อสำคัญมีอยู่ว่าให้อุทิศเป็นผ้าจริง ๆ อย่าถวายแก่ใครโดยเฉพาะถ้าทอดลับหลัง พระสงฆ์ผู้รับเพียงแต่ตั้งใจขณะทอดว่าขออุทิศผ้าและเครื่องบริวารเหล่านี้ แก่ภิกษุผู้ต้องการผ้าบังสุกุลมาถึงเฉพาะหน้า เท่านี้ ก็ได้ชื่อว่าทอดผ้าป่าแล้ว แต่ถ้าเป็นการทอดหมู่ต่อหน้าพระสงฆ์ผู้รับ หัวหน้าทายกพึงนำว่าคำอุทิศถวายเป็นคำ ๆ ทั้งคำบาลีและคำแปล
คำถวายผ้าป่า
            คำบาลี          อิ มานิ มยํ ภนฺเต ,ปํสุกูลจีวรานิ,สปริวารานิ, ภิกขุสํฆสฺส โอโณชยาม,สาธุ โน ภนฺเต,ภิกขุสํโฆ, อิมานิ มยํ ภนฺเต ,ปํสุกูลจีวรานิ,ปฏิคคณฺหาตุ,อมฺหากํ,ทีฆรตฺตํ,หิตาย,สุขาย.
            คำแปล            ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ
          สำหรับ ภิกษุผู้ชักผ้าป่า ไม่ว่าผ้าป่าแบบไหน พึงยืนสงบตรงหน้าเอื้อมมือขวาจับผ้า ให้จับหงายมือ อย่าจับคว่ำมือ แล้วกล่าววาจาหรือบริกรรมในใจว่า อิมํ ปํสุกูลจีวรํ อสฺสามิกํ มยฺหํ ปาปุณาติ ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมถึงแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ (บางอาจารย์เติมคำชักผ้าป่าในระหว่าง อสฺสามิกํ ... มยฺหํ เป็นคำว่า อมํ ปํสุกูลจีวรํ อสฺสามิกํ โหติ อชฺช มยฺโย ปาปุฌาติ ก็มี) กล่าววาจาหรือบริกรรมในใจจบแล้วชักผ้านั้นมาเป็นอันเสร็จพิธี
          แต่ถ้าเป็นผ้าป่าถวายหมู่เมื่อชักแล้ว พึงอนุโมทนาด้วยบท วิเสสอนุโมทนา ในทานนี้นิยมใช้บท สพฺพพุทธานุภาเวน... หากเป็นผ้าป่าเฉพาะรูป อนุโมทนาด้วยสามัญอนุโมทนาเท่านั้นก็ได้
          ถ้าพระสงฆ์อนุโทนา ทายกพึงกรวดน้ำ ขณะที่พระสงฆ์สวดว่า ยถา.. แล้วประนมมือรับพรไปจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

การทอดกฐิน
            การทอดกฐิน  เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12 คำว่า กฐิน แปลว่า กรอบไม้หรือสะดึงสำหรับขึงผ้าเย็บจีวรของภิกษุการทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป แล้วให้พระสงฆ์รูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากคระสงฆ์ทั้งหมดเป็นเอกฉันท์ ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น
          การ ที่มีประเพณีการทอดกฐิน มีเรื่องว่า ในครั้งพุทธกาลภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ถือธุดงค์จำนวน 30 รูป เดินทางไกลไปไม่ทันวันเข้าพรรษา โดยเหลือระยะทางอีก 6 โยชน์จะถึงพระนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส (สามเดือน) ครั้นออกพรรษาแล้วจึงพากันเดินทางไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา ณ เชตะวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี ในระยะทางที่เดินทางไปนั้นฝนกำลังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลนและเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบ 3 เดือน กรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ 5 ประการ คือ
          1. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
          2. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
          3. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
          4. ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
          5. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ 5 อีก 4 เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนวันกฐินเดาะ เรียกว่า มาติกา 8 คือ การกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ
          (1) กำหนดด้วยหลีกไป           (2) กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
          (3) กำหนดด้วยตกลงใจ                   (4) กำหนดด้วยผ้าเสียหาย
          (5) กำหนดด้วยได้ยินข่าว                  (6) กำหนดด้วยสิ้นหวัง
          (7) กำหนดด้วยล่วงเขต          (8)  กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
          ฉะนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว 1 เดือน ได้ ดังนั้น จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ จัดเป็นกาลทาน กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว และตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่า ชนิดของกฐินมี 2 ลักษณะ คือ
            จุลกฐิน คือ อาศัยความเคร่งครัดรีบด่วนในการทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทจะละเลยมิได้ ถือเป็นสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนด วันหนึ่งทำฝ้ายปั่น กรอ ทอ ตัด เย็บ ย้อมทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
            มหากฐิน  คือ อาศัย ปัจจัยไทยธรรมบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้ส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัดเพื่อพัฒนาความเจริญ คือ ทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณะของเก่าบ้าง ทุกวันนี้นิยมเรียกว่ากฐินสามัคคี
          การ ทอดกฐินในเมืองไทย ปัจจุบันแบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือ พระอารามหลวงผ้ากฐินทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไป ราชทานด้วยพระองค์เอง หรือ โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ไปพระราชทาน เครื่องกฐินทานนี้ จัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เรียกว่า กฐินของหลวง และบางทีก็เสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย นิยมเรียกว่า กฐินต้นและผ้ากฐินทาน
          นอก จากที่ได้รับกฐินของหลวงโดยตรงแล้ว และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศ์ ข้าราชบริพารส่วนราชการ สมาคม หรือเอกชนให้ไปทอด รัฐบาลโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาจะจัดผ้าพระกฐินทานและเครื่องกฐินถวายไป ผู้ได้รับพระราชทานอาจถวายจตุปัจจัยหรือเงิน ทำบุญที่วัดนั้นโดยเสด็จในกฐินพระราชทานได้ตามศรัทธา ตามความสามารถ
          ส่วน วัดราษฎร์ทั่วไป พระราชวงศ์ ข้าราชบริพาร ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หรือคณะบุคคลจะไปทอดหรือรวมกันไปทอด โดยการจองล่วงหน้าไว้ก่อนตั้งแต่ในพรรษา ก่อนจะเข้าเทศกาลกฐิน วัดใดถ้าไม่มีผู้จอง เมื่อ ใกล้เทศกาลกฐิน ประชาชน ทายกทายิกาแห่งวัดนั้นก็จะรวบรวมกันจัดการทอดกฐิน ณ วัดนั้นในเทศกาลกฐิน

การทำบุญงานอวมงคล
การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญที่เกี่ยวกับเรื่องการตาย นิยมทำกันอยู่ 2 อย่าง คือ
            ทำบุญหน้าศพ  ที่เรียกกันว่า ทำบุญ 7 วัน 50 วัน 100 วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพ
            ทำบุญอัฐิ หรือทำบุญปรารภการตายของบรรพบุรุษ ในวันคล้ายวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว
          ประเพณี เกี่ยวกับการตายมีทำแตกต่างกันมากน้อยตามท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะคนไทยพุทธเมื่อถึงแก่กรรม บุตรธิดา ภรรยา หรือสามีและญาติมิตรสหายจะร่วมกันจัดงานศพ มีพิธีทำบุญที่เรียกว่าทำบุญงานอวมงคล คือ งานทำบุญหน้าศพ และงานทำบุญอัฐิ ทั้งนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ถึงแก่กรรมไปแล้วตามคตินิยมของชาวไทย พุทธ ประเพณีเกี่ยวกับการตาย ได้แก่ การจัดการศพ การสวดอภิธรรม การทำบุญ 7 วัน 50 วัน 100 วัน การฌาปนกิจ และการทำบุญอัฐิหรือการทำบุญในวันคล้ายวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีดังกล่าวนี้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การจัดการศพ
          การ จัดการศพ เริ่มจากการอาบน้ำศพ การตั้งศพ การสวดอภิธรรม พิธีเหล่านี้นิยมทำที่บ้านของผู้ตาย แต่ในปัจจุบันคนในเมืองนิยมทำกันที่วัด วัดใดวัดหนึ่งอาจเป็นวัดใกล้บ้านหรือวัดที่ท่านผู้ตายหรือครอบครัวของท่าน ผู้ตายสนิทสนมกับเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่แห่งวัดนั้นช่วยเหลือ
การทำบุญ 7 วัน 50 วัน 100 วัน
          พิธีทำบุญ 7 วัน เรียกว่า สัตตมวาร นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 8 รูปเท่านั้น ไม่นิมนต์นอกเหนือไปจากนี้ เพราะถือว่างานศพเป็นงานอวมงคล  การ จัดของไทยทานก็จัด 8 ที่ และในที่บางแห่งอาจมีการจัดสังฆทานประเภทมตกภัตน์ด้วย คือ บรรจุสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นของแห้ง เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม กะปิ น้ำปลา ผลไม้ เสื่อ ร่ม ฯลฯ ใส่ลงในชามอ่างกะละมังหรือกระบุง พอพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้วจึงถวายคำถวายสังฆทานส่วนมตกภัตน์มีคำว่า อิ มานิ มยํ ภนฺเตมกตภติตานิ สปริวารานิ ภิกฺขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุสงฺโฆ อิมานิ มกตภตฺตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากญฺเจว มาตาปิตุอาทีนญฺจ ญาตกานํ กาลกตานํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สขาย ฯ
          พิธี ทำบุญ 50 วัน เรียกว่า ปัญญาสมวาร 100 วัน เรียกว่า สตวาร หรือวันครบรอบวันตายของท่านผู้ตาย นิยมนิมนต์พระ 10 รูปเป็นส่วนมาก พิธีนี้นิยมทอดผ้าบังสุกุลด้วย จึงควรเตรียมผ้าสำหรับบังสุกุลไว้ด้วยจะเป็นผ้าขาว ผ้าเหลือง สบง จีวร ผ้าผลัดอาบน้ำ  หรือผ้าเช็ดหน้าก็ได้
โดย Duplex
กลับไปที่ www.oknation.net  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น