วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคต่าง ๆ


ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคต่าง ๆ     สภาพทางภูมิศาสตร์ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยมีลักษณะแตกต่างกัน  ดังนี้
     1.  ภาคเหนือ          ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นเขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขา  มีป่าไม้มาก  จึงเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย  เช่น  แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน  ทิวเขาที่สำคัญในภาคเหนือ  ได้แก่  ทิวเขาแดนลาว  ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า  ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน  ทิวเขาถนนธงชัย  เป็นทิวเขาที่ต่อจากทิวเขาแดนลาวทอดลงไปทางใต้  กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า  ตั้งแต่เขตจังหวัดตากถึงจังหวัดกาญจนบุรี  ทิวเขาผีปันน้ำอยู่ทางตอนกลางของภาคเหนือ  ทิวเขาหลวงพระบางกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว
          ลักษณะภูมิอากาศ  เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูขาสูงสลับกับแอ่งหุบเขา  ทำให้ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด  ส่วนในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง  เพราะอยู่ไกลจากทะเล
     2.  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นที่ราบสูง  มีทิวเขาเป็นขอบอยู่ทางด้านตะวันตกและด้านใต้  ทำให้ทางตะวันตกเป็นที่ราบสูงชันและลาดเยื้องมาทางตะวันออก  มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา  ทิวเขาที่สำคัญ  คือ  ทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็น  ซึ่งกั้นระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรัก  กั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับกัมพูชาและลาว  พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย  ไม่อุ้มน้ำ  จึงทำให้ภาคนี้แห้งแล้ง  ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก  แม่น้ำในภาคนี้ส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง  เช่น  แม่น้ำชี  แม่น้ำมูล  เป็นต้น  บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจึงทำให้เกษตรกรรมได้เป็นบริเวณกว้าง
          ลักษณะภูมิอากาศ  ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด  ฤดูร้อนจะร้อนจัดและแห้งแล้ง  ฤดูฝนมักจะพบปัญหาฝนทิ้งช่วงอยู่เสมอ  บางพื้นที่มีภูเขากั้นฝนไว้จึงทำให้ฝนตกน้อย
     3.  ภาคกลาง          ลักษณะภูมิประเทศ  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของเศษหิน  เศษดิน  กรวด  ทราย  และตะกอน  มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านหลายสาย  เช่น  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน  แม่น้ำสะแกกรัง  แม่น้ำลพบุรี  แม่น้ำป่าสัก  เป็นต้น  จึงทำให้พื้นดินบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์  จึงเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม
          ลักษณะภูมิอากาศ  ในฤดูฝนมีฝนตกชุก  ฤดูหนาวจะไม่หนาวเย็นเท่าภาคเหนือ  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนในฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนจัด  เพราะมีลมทะเลช่วย
     4.  ภาคตะวันออก          ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นทิวเขา  มีที่ราบลูกฟูกสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ  และชายฝั่งทะเลที่มีความสวยงาม  มีแม่น้ำไหลผ่านจากด้านเหนือไปใต้  เช่น  แม่น้ำจันทบุรี  แม่น้ำระยอง  เป็นต้น
          ลักษณะภูมิอากาศ  มีอากาศค่อนข้างร้อน  ฝนตกชุก  แต่ได้รับอิทธิพลของลมทะเล  จึงทำให้อากาศในฤดูร้อนไม่ร้อนจัด  และอากาศในฤดูหนาวไม่หนาวจัด  แต่จะมีอากาศเย็นสบาย
     5.  ภาคตะวันตก          ลักษณะภูมิประเทศ  ทางด้านตะวันตกเป็นทิวเขาสลับกับหุบเขาแคบ ๆ และลาดต่ำสู่ทางด้านตะวันออก  ทิวเขาสำคัญ  คือ  ทิวเขาถนนธงชัย  ทิวเขาตะนาวศรี  และแม่แม่น้ำสาละวินกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า  แม่น้ำสายสำคัญ  ได้แก่  แม่น้ำแม่กลอง  ซึ่งรับน้ำจากแม่น้ำแควใหญ่  และแม่น้ำแควน้อย
          ลักษณะภูมิอากาศ  ทางตอนเหนือของภาคมีอากาศร้อนอบอ้าว  ทางตอนใต้จะไม่ร้อนจัด  เพราะมีลมมรสุมพัอผ่าน  มีฝนตกชุก  ฤดูหนาวทางตอนบนของภาคอากาศจะหนาว  แต่ทางตอนล่างของภาคอากาศจะไม่หนาวมาก
     6.  ภาคใต้          ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย  และชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน  มีทิวเขาอยู่ทางตอนกลางและมีที่ราบทางตะวันออกและทางตะวันตก  ทิวเขาที่สำคัญคือ  ทิวเขาภูเก็ต  ทิวเขานครศรีธรรมราชและทิวเขาสันกาลาคีรี  ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย  แม่น้ำทางภาคใต้จะเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ เช่น  แม่น้ำตาปี  แม่น้ำปัตตานี  เป็นต้น  ภาคใต้เป็นภาคที่มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุดในประเทศไทย
          ลักษณะภูมิอากาศ  เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศมีทะเลขนาบทั้ง 2 ด้าน  ทำให้ได้รับลมทะเล  มีความชุ่มชื้น  ฝนตกชุกตลอดปี  มีฤดูที่เด่นชัดเพียง 2 ฤดู  คื่อ  ฤดูฝนและฤดูร้อน  ส่วนฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด  เพราะได้รับลมทะเลจากทั้งสองฝั่งทะเล



ที่มา:///   http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2112









1. ภูเขาสำคัญ
ภาคหนือ
-เทือกเขาแดนลาว  เป็นเทือกเขาพรมแดนไทย – พม่า (ระวัง! ชื่อแดนลาว  แต่กั้นไทย-พม่า นะจ๊ะ)
-เทือกเขาหลวงพระบาง  เป็นเทือกเขาพรมแดนไทย – ลาว
-เทือกเขาถนนธงชัย  เป็นเทือกเขาพรมแดนไทย – พม่า
*   เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุด  และสูงสุดของประเทศไทย
*   จุดสูงสุดของประเทศไทย  คือ ดอยอินทนนท์  บนเทือกเขาถนนธงชัย  จ.เชียงใหม่
ภาคกลาง
-  เทือกเขาเพชรบูรณ์  กั้นภาคกลางกับภาคอีสาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
-   เทือกเขาเพชรบูรณ์,  พงพญาเย็น (วางตัวเหนือ – ใต้ , แนวตั้ง)
-   เทือกเขาสันกำแพง,  พนมดงรัก (วางตัวแนวตะวันตก – ออก , แนวนอน
-   เทือกเขาภูพาน  (วางตัวแนวตะวันตก – ออก , แนวนอน กลางภาค)
ภาคตะวันตก
-   เทือกเขาตะนาวศรี  เป็นเทือกเขาพรมแดนไทย – พม่า
ภาคตะวันออก
-   เทือกเขาจันทบุรี
-   เทือกเขาบรรทัด  กั้นพรมแดนไทย – กัมพูชา
ภาคใต้
-   เทือกเขาภูเก็ต
-   เทือกเขานครศรีธรรมราช
-   เทือกเขาสันกาลาคีรี  กั้นพรมแดนไทย - มาเลเซีย
2. แม่น้ำสำคัญ
-   ภาคเหนือ :- ปิง  วัง  ยม  น่าน
-   ภาคกลาง :- เจ้าพระยา (สายใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศ) ท่าจีน
-   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ :- ชี (สายยาวที่สุดของประเทศ) มูล
-   ภาคใต้ :- ตาปี 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น