|
|
แนวทางการจัดกิจกรรมโครงงาน
|
|
คือ งานวิจัยเล็กๆ สำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหา หรือข้อสงสัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดจะเรียกว่า
โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ
(ปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นนำไปสู่
โครงงานเรื่องต่อๆ
ไป โดยมี
ขั้นตอนการทำโครงงาน
เหมือนข้อ 1-5)
|
|
1.
กำหนดปัญหา กำหนดหัวข้อเรื่อง
2. ตั้งสมมุติฐาน หรือคำตอบชั่วคราว
3.
ออกแบบการศึกษาค้นคว้า การทดลอง
4. ลงมือปฏิบัติ
5. สรุปผลโดยการจัดทำรายงานโครงงาน
...........อาจมีปัญหาใหม่เกิดขึ้น...........
6. นำเสนอผลงาน ประเมินผล
7. จัดนิทรรศการ ส่งประกวด
|
|
หัวข้อการเขียนรายงานโครงงาน
|
|
โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้
.............................เรื่อง
........................................................
ผู้จัดทำ
.............................................อาจารย์ที่ปรึกษา .......................................................
โรงเรียน
...........................................สังกัด..................................ระดับชั้น
.......................
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
บทที่
1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน.....................วัตถุประสงค์
...................
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า.....................ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า..............
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) .....................................................................................
บทที่
2 บทเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงานเรื่องนี้
บทที่
3 อุปกรณ์ วิธีดำเนินการศึกษา
บทที่
4 ผลการศึกษา และอภิปรายผล
บทที่
5 สรุปผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ
ข้อแนะนำสำหรับนักเรียนในการเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
การเรียนรู้โดยกิจกรรมการทำโครงงาน เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถและพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่
โดยเป็นไปตามธรรมชาติ ตามความถนัดและความสนใจ เน้นในเรื่องคุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน
ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาไทย ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา การประกอบอาชีพ
เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข การฝึกทำโครงงานจึงเป็นพื้นฐานของการฝึกทักษะ
กระบวนการคิด การแก้ปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา
ทุกสถานที่ ทั้งเป็นการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายของชุมชน นักเรียนจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมอย่างสมบูรณ์
สามารถประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสามารถของนักเรียนเอง
ฉะนั้น เมื่อนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนจากครูอาจารย์ผู้สอนแล้ว
นักเรียนจะต้องเป็นผู้คิดกำหนดหัวข้อโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผนออกแบบ
สำรวจ ทดลอง ประดิษฐ์ เก็บรวบรวมข้อมูล แปรผล สรุปผลและเสนอผลงานโดยตัวนักเรียนเอง
ครูอาจารย์จะเป็นเพียงผู้ดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้น โครงงานแรกที่นักเรียนได้ทำและประสบผลสำเร็จ
จะสร้างความมั่นใจและเป็นแรงผลักดันให้นักเรียนทำโครงงานต่อๆ ไปได้ นักเรียนจึงควรเลือกโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของนักเรียนเอง
ทั้งนี้เพราะการเริ่มต้นด้วยความสำเร็จย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ดีเสมอ จึงขอแนะนำให้นักเรียนเริ่มทำโครงงานประเภทสำรวจก่อนโครงงานประเภททดลองและประเภทสิ่งประดิษฐ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น