วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การทำโครงงาน สังคม






 



            










โครงงาน
 


                คือ งานวิจัยเล็กๆ  สำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปั­ญหา หรือข้อสงสัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดจะเรียกว่า โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ



การทำโครงงาน
 



ปั­ญหาใหม่ที่เกิดขึ้นนำไปสู่

โครงงานเรื่องต่อๆ ไป โดยมี
ขั้นตอนการทำโครงงาน
      เหมือนข้อ 1-5)
 
                1. กำหนดปั­ญหา กำหนดหัวข้อเรื่อง
                2. ตั้งสมมุติฐาน หรือคำตอบชั่วคราว
                3. ออกแบบการศึกษาค้นคว้า การทดลอง
                4. ลงมือปฏิบัติ
                5. สรุปผลโดยการจัดทำรายงานโครงงาน
                     ...........อาจมีปั­ญหาใหม่เกิดขึ้น...........
                6. นำเสนอผลงาน ประเมินผล
                7. จัดนิทรรศการ ส่งประกวด



หัวข้อการเขียนรายงานโครงงาน
 




 
  โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ .............................เรื่อง ........................................................

 
ผู้จัดทำ .............................................อาจารย์ที่ปรึกษา ....................................................... 
โรงเรียน ...........................................สังกัด..................................ระดับชั้น .......................

 
                   บทคัดย่อ

 
                  กิตติกรรมประกาศ
                   บทที่บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน.....................วัตถุประสงค์ ...................
                                    สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า.....................ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า..............
                                    ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) .....................................................................................
                   บทที่บทเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงานเรื่องนี้
                   บทที่อุปกรณ์ วิธีดำเนินการศึกษา

 
                   บทที่ผลการศึกษา และอภิปรายผล

 


 

 

 
                   บทที่สรุปผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ

หมายเหตุ:  ตัวอย่างโครงงานเป็นของนักเรียน จึงมีรูปแบบหลากหลายตามความสามารถ
      ของนักเรียนแต่ละระดับชั้น

 


 
 
                   เอกสารอ้างอิง






ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  โดยสรุป
 




เรื่อง  คนไทยเชื้อสายมอญในโพธาราม
 







ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                ขณะที่กำลังเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เรื่องวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นต่าง ๆ คุณครูได้พูดถึงชนชาติต่าง ๆ ที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย  นักเรียนในโรงเรียนของเราก็มีคนเชื้อสายต่าง ๆ เช่น  จีน  มอญ  ลาว  เราได้พูดถึงวัฒนธรรมของแต่ละชาติด้วยและโรงเรียนเราตั้งอยู่ในบริเวณวัดไทร  ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนมอญมาก่อน  จึงเกิดความสนใจอยากจะรู้เรื่องราวของคนมอญในประเทศไทยบ้าง  จึงได้นำเรื่องคนไทยเชื้อสายมอญในโพธารามไปปรึกษากับครูผู้สอน  ท่านได้ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ  จึงได้ไปศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมมาโดยหวังว่าจะเกิดประโยชน์ทำให้ได้ความรู้นำไปเผยแพร่ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
        1.  สามารถบอกประวัติความเป็นมาของชนชาติมอญในท้องถิ่น
        2.  บอกขนบธรรมเนียมประเพณี   วัฒนธรรม  และความเชื่อต่าง ๆ  ของชาวมอญ
        3.  นำความรู้ไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
                ชนชาติมอญเป็นชนชาติเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรือง   มีวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม  ควรค่าแก่การรักษาสืบทอดต่อไปถึงชนรุ่นหลัง
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.  การศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวมอญในท้องถิ่นของเรา
                2.  ศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี  วัฒนธรรม   ความเชื่อต่าง ๆ ของชาวมอญ
                3.  ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ อินเทอร์เน็ต สัมภาษณ์บุคคล
                4.  การศึกษา ในครั้งนี้  เป็นเพียงการหาข้อมูลเฉพาะเรื่องที่เราสนใจ  และต้องการเรียนรู้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ อาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
วัสดุอุปกรณ์และสิ่งที่ต้องใช้ในการดำเนินงาน
                1.  วัสดุต่าง ๆ  ที่ใช้ในการจัดทำเอกสาร  เช่น  กระดาษ  ปากกา  ดินสอ  ไม้บรรทัด ฯลฯ
                2.  บริการข้อมูล  สารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตและหนังสือจากห้องสมุดของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์  (มณีวิทยา)
                3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีบ้านอยู่ในชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ  หรือมีเชื้อสายมอญ  ทำหน้าที่สัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ และบันทึกข้อมูล
                การเก็บข้อมูลและจัดทำเอกสารแสดงผลงาน
                1.  นำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียง  และจัดทำเอกสารเป็นรูปเล่ม  โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ตรวจข้อมูลและให้คำแนะนำในการจัดทำเอกสาร  และเรียบเรียง  ข้อมูลเป็นรูปเล่ม
                2.  ตรวจสอบผลงานอีกครั้ง  โดยช่วยกันตรวจสอบข้อมูล  พิสูจน์อักษร  ตรวจทานให้ถูกต้องก่อนนำไปเข้ารูปเล่ม  และเตรียมนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
                3.  รายงานผลหน้าชั้นเรียน  โดยคณะผู้จัดทำแสดงผลงานเปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ นักเรียนซักถามและแสดงความคิดเห็นต่อผลงาน  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

         เป็นรูปแบบการทำโครงงานโดยทั่วไป หวังว่าคงมีประโยชน์ อันนี้ก็คัดลองมาอีที  จากผู่เขียนคนอื่น
             ขอเป็นวิทยาธานให้กับเด็กๆๆและผู้สนใจนะครับ

                                                                                    mansrolg kutawada
 


















ข้อแนะนำสำหรับนักเรียนในการเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน


                การเรียนรู้โดยกิจกรรมการทำโครงงาน  เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถและพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยเป็นไปตามธรรมชาติ ตามความถนัดและความสนใจ เน้นในเรื่องคุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปั­­ญญาไทย ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา การประกอบอาชีพ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข การฝึกทำโครงงานจึงเป็นพื้นฐานของการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การแก้ปั­ญหาจากสถานการณ์ต่างๆ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งเป็นการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายของชุมชน นักเรียนจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา  อารมณ์และสังคมอย่างสมบูรณ์ สามารถประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสามารถของนักเรียนเอง
                ฉะนั้น เมื่อนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนจากครูอาจารย์ผู้สอนแล้ว นักเรียนจะต้องเป็นผู้คิดกำหนดหัวข้อโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผนออกแบบ สำรวจ ทดลอง ประดิษฐ์ เก็บรวบรวมข้อมูล แปรผล สรุปผลและเสนอผลงานโดยตัวนักเรียนเอง ครูอาจารย์จะเป็นเพียงผู้ดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้น โครงงานแรกที่นักเรียนได้ทำและประสบผลสำเร็จ จะสร้างความมั่นใจและเป็นแรงผลักดันให้นักเรียนทำโครงงานต่อๆ ไปได้ นักเรียนจึงควรเลือกโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของนักเรียนเอง ทั้งนี้เพราะการเริ่มต้นด้วยความสำเร็จย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ดีเสมอ จึงขอแนะนำให้นักเรียนเริ่มทำโครงงานประเภทสำรวจก่อนโครงงานประเภททดลองและประเภทสิ่งประดิษฐ์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น